แกะรอย GPT ตอน 5

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ แกะรอย GPT ตอน 5 สามสี่ตอนที่ผ่านมา เราเล่ากันถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ระหว่างตัวอักษรของ ChatGPT ไปละ ตอนนี้เรามาเดินทางกันต่อ ถ้าลองไปถามหลายๆคนว่า ChatGPT คืออะไร? ผมเชื่อว่าคำตอบออกมาคงจะหลากหลาย อาจจะเริ่มตั้งแต่ มันคือเครื่องมือมหัศจรรย์ กูรูผู้รู้ทุกอย่าง เอไอที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ไปจนถึงความหมายลึกๆอย่าง Large Language Model หรือ Machine Learning สำหรับผมแล้วเวลาเล่าเรื่องนี้ให้คนอื่นฟัง ผมมักจะหยิบยกเอานิยามที่แตกต่างกันไปไปเล่าให้เหมาะสมกับคนฟัง แต่ถ้าเขามีความสนใจและมีเวลามากหน่อย ผมจะเล่าเริ่มจากประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆว่า ChatGPT=predicting the probability distribution of training data แล้วค่อยๆถอดรหัสทีละคำว่ามันหมายถึงอะไร และถ้าสีหน้าแววตาของผู้ฟังดูลุกวาว ผมก็จะค่อยๆดำดิ่งลงลึกในรายละเอียดไปจนถึงสูตร Math ที่รองรับ ว่ามันประกอบร่างและทำงานกันอย่างไร ซึ่งตรงนี้น่าสนใจ ถ้าพื้นฐานเรา “เข้าใจได้แน่นเพียงพอ” เราจะเข้าใจศักยภาพและข้อจำกัดของมันจากประโยคเดียวที่อธิบายไป และถ้าคนฟังมีพื้น Math มาพอสมควร เขาก็สามารถต่อยอดจินตนาการออกไปได้อีก อาจจะไปจนถึงการสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆออกมาก็เป็นได้ และนี่คงเป็นสิ่งที่บิลเกตส์เห็นและได้เขียนถึงความสำคัญของ Math ถึงกับเคลมประเด็นว่าช่วย […]

แกะรอย GPT ตอน 4

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ บทความก่อนหน้านี้ผมได้แกะความหมายและความเกี่ยวโยงของ GPT ไปแล้วสองตัว และมาถึงตัวสุดท้ายคือ T (Transformer) ถ้าคุณเอาคำนี้ไปค้น สิ่งแรกที่จะเห็นก็คือ “หม้อแปลงไฟฟ้า” ถัดมาน่าจะเป็น “หุ่นยนต์” ในหนังเรื่อง Transformer แต่จริงๆแล้ว Transformer ในที่นี้คือชื่อสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่อยู่ในเปเปอร์ Attention is all you need และจะสื่อถึง “การเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง” (transforms an input sequence into an output sequence) โดยใช้แมกคานิซึมตัวใหม่ที่เรียกว่า “Self-Attention” … ซึ่งเรื่องนี้มีความลึก ไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้อ่านกันอีกทีนะครับ หลายคนบอกว่าจริงๆชื่อ Transformer นี่ คนเขียนเปเปอร์ก็เอามาจากหนังนี่แหละ แบบจะได้ดูเท่ห์และสื่อความกับเรื่องที่ทำด้วย ว่าไปแล้วก็ฟังขึ้นเหมือนกันนะ และบางคนก็บอกต่อไปอีกว่า มันลึกไปกว่านั้นอีก เพราะคำว่า “Trans” นั้น ในอเมริกา หมายถึงอีกกลุ่มหนึ่ง ที่คนในแวดวงเทคเอง ก็มีอยู่เยอะ เอาเป็นว่าอยากจะเชื่อแบบไหนก็ตามสะดวกเลยนะครับ ถ้าคุณชอบบทความสั้นๆ […]

แกะรอย GPT ตอน 3

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ตอนที่แล้วผมแกะรอยเล่าถึง ความหมายของ G ตัวแรกในคำย่อ GPT ไปแล้ว ทีนี้มาดูตัวที่สองกันนั่นก็คือ P ซึ่งเป็นอักษรย่อจากคำว่า Pre-trained ตรงนี้แหละน่าสนใจ เรามาแยกเป็น subword ก่อนนะ เริ่มที่คำ trained ใครอย่าไปนึกว่ามันคือ “รถไฟ” เชียวนะ ไม่ใช่ๆ มันก็คือ “การเทรน” ที่เป็นคำทับศัพท์ในภาษาไทยนั่นแหละ และในรูปต่อด้วย “ed” ก็แปลว่า “มันถูกเทรนมาเรียบร้อยแล้ว” คำถามถัดมา แล้วการเทรนคืออะไร โอว ตรงนี้ถ้าเล่าละเอียด ก็คงยาวมาก เอาเป็นว่า ระบบจะเอาข้อมูลข้อความที่ไปกวาดมาทั้งหนังสือ ในเน็ตนับพันล้านคำมาแปลงเป็นตัวเลขในหน้าตาของเมตริกซ์ (ตรงนี้ต้องใช้ความรู้คณิตศาสตร์ที่เรียกว่า Algebra ช่วย ใครเรียนมอปลายสายวิทย์ก็อาจจะคุ้นเคยดีนะ แต่จะลืมไปแล้วหรือเปล่าก็มาว่ากันอีกที) จากนั้นก็ถูกนำไปประมวลผลตามสถาปัตยกรรมหลายซับหลายซ้อน จนได้เมตริกซ์ที่ตกผลึกมาเก็บไว้ ตรงนี้แหละคือ “การเทรนดาต้าเซต” เรื่องที่มหัศจรรย์เกินจินตนาการก็คือ ไอ้ตัวเลขเหล่านี้ มันทำให้ระบบเข้าใจภาษา เข้าใจความหมาย ความต้องการของผู้ใช้ และสามารถไปดึงคำตอบจากสิ่งที่เทรนมาได้ คิดแล้วมันน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ เอาไว้มีโอกาสจะมาเล่าเชิงเทคนิคพวกนี้ให้ฟังอีกทีนะครับ และเมื่อได้ข้อมูลที่ผ่านการเทรนมาแล้ว […]

มาต่อตอนสอง แกะรอย chatGPT (2)

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ จากตอนแรก ผมเล่าถึงเส้นทางที่ OpenAI ตาลุกวาวกับเปเปอร์ใหม่ Attention is all you need แล้วเอามาทำเป็น ChatGPT โดยดึงเอาฝั่ง Decoder มาโมต่อ ซึ่งฝั่งนี้เรียกว่า GPT ส่วนฝั่ง Encoder นั้นเรียกว่า BERT ส่วนที่น่าสนใจฝั่ง GPT ที่พวกเราเริ่มคุ้นกับคำย่อสามตัวอักษรนี้ หลายคนอาจจะผ่านตากับคำเต็มไปบ้าง โดยเฉพาะคำแรก G ซึ่งมาจากคำว่า Generative ยิ่งไปเจอกับคำว่า Generative AI ยิ่งคุ้นเข้าไปใหญ่ แต่อาจจะมีหลายคนสงสัยว่า เอ๊ะ! ทำไมใช้คำว่า Generative ทำไมไม่ใช้คำว่า General ไปเลย จะได้สื่อให้ชัดว่า “สารพัดอย่าง” เช่นเดียวกับสำนวน “General เบ๊” คำตอบคือ “ไม่ได้เกี่ยวกันครับ” Generative คำนี้หมายถึง “การสร้างใหม่” และถ้าจะพูดให้ลึกไปกว่านั้น คำนี้มันเป็นคำจากคณิตศาสตร์สาขาสถิติต่างหาก โดยโยงไปถึง “Generative […]

จุดกำเนิดของ ChatGPT (1)

บิ๊ก พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ / pongrapee@gmail.com วันนี้ผมจะมาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของประวัติที่มาการเกิดของ ChatGPT นะครับ โลกของ Generative AI เดินทางมาจุดเปลี่ยนใหญ่อีกครั้งเมื่องานเปเปอร์ที่ชื่อว่า Attention is all you need ของนาย Vaswani ตีพิมพ์ออกมา (pdf) ในปี 2017 โดยผมเข้าใจว่าความตั้งใจแรกของ Vaswani คือการแก้ปัญหาของโมเดล RNN ที่เทรนได้ช้าและลืมง่าย โดยนำเสนอ Mechanism ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Self Attention แล้วก็ประกอบร่างส่วนต่างๆเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ที่เรียกว่า “Transformer” ทั้งหมดนี้เป็นการพัฒนาเรื่องของ NLP (Natural Language Processing) พูดง่ายๆคือทำให้พวกงานภาษาทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง (พวกแปลภาษา พวกสรุปความ ฯลฯ) ผมคิดว่า Vaswani คงอึ้ง เมื่อสิ่งที่เขาคิดมันได้ถูกต่อยอดและเดินทางมาถึงขนาดนี้ ว่าไปแล้วคงไม่ต่างจากซาโตชิ นากาโมโตะที่คิดบิทคอยน์เพื่อเป็น electronic cash แต่มันก็ได้เดินทางไปไกลมากกว่านั้นเยอะ สถาปัตยกรรม Transformer […]

ประวัติศาสตร์และแคลคูลัสเหมือนกันอย่างไร?

“แคลคูลัส” หนึ่งในเสาหลักของวงการคณิตศาสตร์ ที่นักเรียนสายวิทย์จะต้องคุ้นเคย ถึงแม้ว่าจะลืมไปเกือบหมดแล้วก็ตาม ว่าไปแล้วแคลคูลัสเกิดขึ้นมาด้วยเหตุบังเอิญ และแรงขับของเซเลปนามว่า “ไอแซค นิวตัน” ที่กำลังสร้างทฤษฏีกฎแรงโน้มถ่วงและการเคลื่อนที่ แต่คณิตศาสตร์ยุคนั้นไม่สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรต่างๆตามทฤษฏีของนิวตันได้ เช่นการเปลี่ยนของความเร็วเป็นความเร่ง ด้วยเหตุนี้นิวตันจึงได้พยายามพัฒนาหลักการคณิตศาสตร์ขึ้นมาใหม่ชุดหนึ่ง เพื่อมาตามติด “การเปลี่ยนแปลง” โดยเฉพาะ จนท้ายสุดก็สร้างออกมาสำเร็จในชื่อที่เรียกว่า “แคลคูลัส” ดังนั้นถ้าจะพูดให้สั้นที่สุดว่าแคลคูลัสคืออะไร ก็คงต้องตอบว่าเป็น “คณิตศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง” เพื่อติดตามหาค่าจากจุดเริ่มต้น จุดกลาง ไปจนถึงการทำนายจุดข้างหน้าที่อาจจะยังไม่เกิด และนี่คือหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญมากในหลากหลายวงการ ทีนี้ย้อนมาดูเรื่อง “ประวัติศาสตร์” บ้างประวัติศาสตร์คืออะไร?หลายคนอาจจะตอบว่า “ประวัติศาสตร์ก็คือเรื่องในอดีต” คำตอบนี้ถ้าบอกว่าผิดก็คงไม่ใช่ แต่ถ้าบอกว่าถูกมันก็คงจะ “แคบเกินไปที่จะสรุปแบบนั้น” เพราะหัวใจมันไม่ใช่เรื่องนี้ ประวัติศาสตร์ คือ “จุดเริ่มต้นในอดีตที่สนใจและการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น” แล้วทำไมถึงเปลี่ยน เปลี่ยนอย่างไร ใครคือตัวละครที่เกี่ยวข้องในเส้นเรื่องและคำถามอีกมากมายที่ชวนให้คิด ชวนให้ค้นหาคำตอบ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นอย่างนั้น?ก็มาจากหลักฐาน พยาน คำบอกเล่า ข้อเขียน ฯลฯ แล้วเอามาตีความด้วยมุมมอง ความเชื่อ ความรู้ ผลประโยชน์ และอำนาจ จากนั้นก็ออกมาเป็น “ชุดความเชื่อหนึ่ง” ที่บางคนเรียกว่า “ความจริง” บ้างก็เรียกว่า “คำลวง” […]

มือใหม่หัดเทรดคริปโต จะต้องเริ่มอย่างไรดี?

ถอดบทความจากช่องอนุบาลคริปโต https://youtu.be/dyNQj2qXPDc สวัสดีครับ ผมบิ๊ก พงษ์ระพีพบกันอีกครั้งในช่อง อนุบาลคริปโต นะครับ สำหรับเรื่องที่จะเอามาคุยในวันนี้จะเป็นเรื่องสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในวงการคริปโต ว่าควรจะเริ่มจากอะไรก่อนดีแต่สิ่งแรกที่ผมอยากจะบอกก็คือ ผมไม่ใช่กูรู ผู้รู้ หรือเทพคริปโตแต่อย่างใด เพียงแต่พอมีประสบการณ์ในการลงทุนและเทรดอยู่ในหลายตลาดทั้งคริปโต หุ้นไทย หุ้นนอก กองทุนไทย กองทุนนอก ETF ฟิวเจอร์และอีกจิปาถะ ที่เทรดหลายตลาดก็เพราะเป็นคนที่ชอบลองอะไรใหม่ที่ท้าทาย ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมมีประสบการณ์สัมผัสกับความรู้สึก ความคิดของคนที่อยู่ในตลาดนั้นๆ เมื่อเอาทุกตลาดมาเทียบกันก็จะเห็นอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจ และผมคิดว่าสิ่งนี้มันก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่จะเอามาแบ่งปันกัน สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเริ่มเดินทางบนเส้นทางสายคริปโต ที่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ไปฟังคนอื่นพูดก็งงกับศัพท์แสงแปลกประหลาด ส่วนอีกคนก็ชวนแทงเหรียญ หรือเล่นแอพอะไรก็ไม่รู้ กลัวก็กลัว อยากก็อยาก แล้วจะทำอย่างไรดี ถ้าคุณมีคำถามทำนองนี้อยู่ในใจ ผมมีคำแนะนำอยู่สามข้อ ซึ่งจำและเข้าใจไม่ยาก เพียงแต่คุณจะยอมรับมันหรือเปล่านั่นอีกเรื่องนึง และสิ่งที่ผมจะบอกต่อไปนี้ หลายคนอาจจะไม่พอใจ อาจจะต่อว่าหรือมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งผมจริงๆแล้วไม่มีความจำเป็นต้องทำเนื้อหาแบบนี้เลย เพราะชาวบ้านเขาไม่ทำกันหรอก แต่ด้วยความปราถนาดีสำหรับมือใหม่ที่กำลังเข้ามาอย่างมากมายในอนาคต ก็เลยตัดสินใจคลิปแบบนี้ออกมานะ เอาล่ะ เหล่ามือใหม่ทั้งหลายฟังถึงตรงนี้แล้วเปิดใจ ก็มาเริ่มฟังกันเลย ถนนสายคริปโตนั้น เป็นเส้นทางใหม่ที่มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร ในขณะเดียวก็เปิดโอกาสให้อย่างมากสำหรับทุกคนบนโลกนี้ ดังนั้นคนที่ต้องการเดินทางบนเส้นทางนี้ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะมีแผนที่หรืออะไรสักอย่างที่จะเป็นหลักยึดให้จับ เพื่อให้คุณสามารถมองเห็นภาพข้างหน้าในการเดินทางแล้วตัดสินใจด้วยตัวเองได้ คำแนะนำแรกเลยนะครับเอาตัวให้รอดจากพวก SCAM […]

ถอดรหัส CZ เจ้าของไบแนนซ์ กระดานเทรดอันดับหนึ่งของโลก

บทความจาก youtube ช่องอนุบาลคริปโต http://anuban.oneman.company/ สวัสดีครับ ผมบิ๊ก พงษ์ระพีพบกันอีกครั้งในช่อง อนุบาลคริปโต นะครับ สำหรับวันนี้จะมาเล่า เรื่องที่แปลกกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา นั่นก็คือมาแกะบทสัมภาษณ์ของ CZ เจ้าของไบแนนซ์ซึ่งเป็นกระดานเทรดคริปโตอันดับหนึ่งของโลก ที่ได้ไปให้สัมภาษณ์รายการ Bloomberg New Economy รายการเศรษฐกิจการลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับต้นๆของโลก สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความคิดเห็นของ CZ ในแง่มุมต่างๆที่ผู้ดำเนินรายการถาม ซึ่งCZ ตอบได้อย่างคมคาย ผมเลยอยากจะเอามาเล่าให้ผู้ฟังทุกท่านได้รับทราบ เพราะมันจะให้กรอบความรู้ในเรื่องคริปโตของเรากว้างขึ้น ลึกขึ้น นอกจากนี้ผมจะเติมความคิดเห็นลงไปในแต่ละประเด็นด้วยนะครับ และใครที่ยังไม่รู้จัก CZ ผมก็เคยทำคลิปถอดรหัส BNB คอยน์ของไบแนนซ์ไปแล้ว ก็แนะนำให้ไปฟังเพิ่มนะครับ ชื่อ CZ นั้นมาจากชื่อย่อจากอักษรพินยินตัวกำกับการออกเสียงภาษาจีน จากชื่อจีนว่า “จ้าวฉางเผิง” (Chinese: 赵长鹏; pinyin: Zhào Chángpéng) เนื่องจากแกเกิดที่จีนแล้วไปโตที่แคนาดา และถือสัญชาติแคนาดา มาเริ่มกันเลยนะครับผู้ดำเนินรายการเริ่มต้นด้วยคำถาม ปูพื้นง่ายๆว่า คริปโตคืออะไร ซึ่งในห้องส่งนี้ก็อาจจะมีคนไม่ปลื้มกับคริปโตนั่งอยู่ด้วย คำถามดูบีบๆ แต่ CZ ก็ตอบประเด็นนี้ทันทีเลย โดยบอกว่าในห้องนี้ก็คงมีคนรู้เกี่ยวกับคริปโตในระดับที่แตกต่างกันไป […]

3Q Model โมเดลในการถอดรหัสมูลค่าของสินทรัพย์

3Q model นี้เป็นกรอบในการอธิบายพื้นฐานของสินทรัพย์ว่า สินทรัพย์นั้นมันก่อเกิดมูลค่าขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อให้นักลงทุนทำความเข้าใจปัจจัยหลักที่มากระทบมูลค่าได้อย่างเป็นระบบ และง่ายในการทำความเข้าใจ การประเมินมูลค่าสินทรัพย์นับว่าเป็นหัวใจอย่างหนึ่งของนักลงทุนสายพื้นฐาน ในโลกของ TradFi เรามีโมเดลมากมายในการประเมิน ไม่ว่าจะเป็น DCF, P/E, DDM ฯลฯ แต่ในโลกของคริปโตแล้ว โมเดลที่ว่ามาไม่สามารถเอามาใช้กับคริปโตได้ ทำให้นักลงทุนในโลก TradFi จำนวนไม่น้อยมองว่า เหรียญคริปโตไม่มีพื้นฐาน และไม่สามารถหามูลค่าได้ ซึ่งก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่นักลงทุนที่จะก้าวเข้ามาโลกคริปโตอย่างจริงจัง ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้เสนอโมเดลในการประเมินมูลคริปโตอยู่โมเดลหนึ่งที่เน้นไปที่บิทคอยน์ เรียกว่า Stock2Flow Model (S2F) และต่อมาได้ขยายมาเป็น Stock2Flow Cross Asset Model (S2FX) โดยรวมเอาทองและเงินเข้าไปอยู่ในโมเดลด้วย  โมเดลที่ว่านี้มีความท้าทายไปถึงการพยากรณ์ราคาของบิทคอยน์ที่ควรจะเป็นในแต่ละช่วงเวลาเข้าไปด้วย แต่ข้อจำกัดของโมเดลที่ว่านี้ก็คือ เน้นใช้เฉพาะเจาะจงที่บิทคอยน์เพียงอย่างเดียว ไม่มีเหรียญคริปโตอื่น ตอนนี้ตลาดคริปโตกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดอย่างมากมาย มีเหรียญคริปโตเป็นหมื่นเหรียญที่รอให้ซื้อให้เทรด แต่ตอนนี้เรายังไม่กรอบในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ประเภทเหรียญที่เข้าใจง่าย และเป็นระบบให้นักลงทุนได้ใช้วิเคราะห์เลย ผมเองมองเห็นปัญหาดังกล่าว ก็เลยนำเสนอโมเดลในการถอดรหัสมูลค่าของสินทรัพย์ ที่เข้าใจง่ายขึ้นมาหนึ่งตัว โดยเรียกว่า Three Quarters Model หรือเรียกสั้นๆว่า 3Q 3Q […]

ชาวเอลซัลวาดอร์ส่วนใหญ่ ไม่สนับสนุนบิทคอยน์ เป็นสกุลเงินถูกกฎหมาย

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จากการสำรวจความเห็นชาวเอลซัลวาดอร์เมื่อเร็วๆ นี้ ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนการใช้สกุลเงินบิทคอยน์เป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามที่ระบุไว้เพิ่มเติมในรายงานผลการสำรวจ พบว่า 54% ไม่เห็นด้วย 24% เห็นด้วยเล็กน้อย” ในขณะที่น้อยกว่า 20% เห็นด้วยกับแผนการใช้สกุลเงินคริปโต ออสการ์ ปิคาร์โต หัวหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ดิสรัปติวา แสดงความเห็นในรายงานผลการสำรวจว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเสี่ยงเดิมพันกับการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เปลี่ยนแปลงประเทศ ผลการสำรวจ สะท้อนให้เห็นว่า 46% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับบิตคอยน์ (BTC) และเกือบ 65% ระบุว่า พวกเขาจะไม่เปิดรับการจ่ายเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ประเทศเอลซัลวาดอร์กลายเป็นข่าวพาดหัวหลังจากประธานาธิบดี นายิบ บูเคเล ประกาศใช้บิทคอยน์ (BTC)  เป็นเงินที่ถูกกฎหมาย ข่าวดังกล่าว ไม่เพียงสร้างความพอใจแก่ผู้นักลงทุนบิทคอยน์เท่านั้น แต่เป็นข่าวดีแก่อุตสาหกรรมคริปโตทั้งหมดอีกด้วย ส่งผลให้ราคาของเงินดิจิตอลเพิ่มขึ้น 5% ในขณะนั้น ธนาคารเพื่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจของอเมริกากลาง (CABEI) ประกาศสนับสนุนการนำบิทคอยน์ (BTC)  ไปใช้ตามกฎหมาย หลังจากที่ธนาคารโลกปฏิเสธคำขอความช่วยเหลือของประธานาธิบดีบูเคเล  กฎหมายสกุลเงินบิทคอยน์ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กันยายนปีนี้ […]