The Lanta system at NSTDA Supercomputer Center in Thailand

ระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA ของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 70 ในการจัดอันดับ TOP500 ล่าสุดของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังที่สุดในโลก ทำให้เป็นระบบแรกของไทยที่ติดอันดับ ระบบ LANTA สร้างขึ้นโดย Hewlett Packard Enterprise โดยใช้ระบบ Cray EX ซึ่งมีโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่น 3 จำนวน 496 ตัว GPU NVIDIA A100 Tensor Core จำนวน 704 ตัว และระบบจัดเก็บข้อมูล Cray Clusterstor E1000 ขนาด 12 เพตาไบต์ เป็นระบบแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยของเหลวมาใช้ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของลันตาคาดว่าจะมีส่วนช่วยในด้านต่างๆ รวมถึงการแพทย์ที่มีความแม่นยำ การค้นคว้าด้านยารักษาโรค การพยากรณ์อากาศ และ AI

The Lanta system at NSTDA Supercomputer Center in Thailand has been ranked 70th in the latest edition of the TOP500 list of the world’s most powerful supercomputers, making it the first Thai system to make the list. The Lanta system is built by Hewlett Packard Enterprise based on the Cray EX system, featuring 496 3rd Gen AMD EPYC processors, 704 NVIDIA A100 Tensor Core GPUs, and 12-petabyte Cray Clusterstor E1000 storage system. It is the first system in Thailand to adopt liquid cooling technology, making it more energy-efficient. The Lanta supercomputer is expected to contribute to various fields, including precision medicine, drug discovery, weather forecasting, and AI.

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงข่าวการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ซึ่งเป็นการจัดอันดับเพื่อจัดเก็บข้อมูลเชิงสถิติของระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากทั่วโลก รวมทั้งยังถูกนำไปใช้ในการแสดงศักยภาพด้านการคำนวณอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ในการประกาศผลการจัดอันดับครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2565 นั้น ระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA ของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 70 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ 20 ของเอเชีย และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดอันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณ 8.1 petaFLOPS หรือ 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทยที่มีระบบประมวลผลที่ติดอยู่ใน 100 อันดับแรกของการจัดอันดับ TOP500 เป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาที่ต้องอาศัยการคำนวณขั้นสูงของประเทศไทยให้อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. เปิดเผยว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ LANTA เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ประจำปี 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อสนับสนุนนักวิจัยจากภาคการศึกษา หน่วยงานจากภาครัฐ และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในภาคเอกชนและอุตสาหกรรม และจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีการคำนวณของไทยให้โดดเด่นในระดับนานาชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้ข้อมูลว่า LANTA เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่น Cray EX Supercomputer ผลิตโดยบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) ประกอบด้วยหน่วยประมวลผล CPU AMD EPYC เจนเนอเรชั่น ที่ 3 (Milan) รวมทั้งสิ้น 31,744 cores และหน่วยประมวลผล GPU รุ่น NVIDIA A100 ที่เหมาะสมสำหรับการคำนวณด้าน AI ขั้นสูงและการจำลอง simulation ทางวิทยาศาสตร์จำนวน 704 หน่วย มีระบบจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงรุ่น Cray ClusterStor E1000 ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่า 10 เพตะไบต์ (petabytes) หรือ 10,000 ล้านล้านไบต์ โดยใช้การเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายประสิทธิภาพสูง HPE Slingshot Interconnect ที่มีความเร็วในการส่งรับข้อมูล 200 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ซึ่งทำให้ LANTA มีประสิทธิภาพการประมวลผลสูงสุดในทางทฤษฎี (theoretical peak performance) อยู่ที่ 13.7 petaFLOPS และประสิทธิภาพการคำนวณสูงสุดที่วัดได้ (maximum LINPACK performance) อยู่ที่ 8.1 petaFLOPS หรือ 8.1 พันล้านล้านคำสั่งต่อวินาที (ดูข้อมูลได้ที่ https://top500.org/system/180125/)

นอกจากนี้ LANTA เป็นเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ (warm water cooling) เป็นที่แรกของประเทศไทย ซึ่งมีประสิทธิภาพการระบายความร้อนสูงกว่าการระบายความร้อนด้วยอากาศ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ในระยะยาว และเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการเข้าสู่ยุคของ Green Computing เช่นเดียวกับศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำทั่วโลก

LANTA ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้กับหัวข้อวิจัยที่สำคัญได้หลากหลายเพื่อสนับสนุนนักวิจัยในการสร้างนวัตกรรมให้กับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การแพทย์แม่นยำ การวิจัยพัฒนายา การจำลองสภาพภูมิอากาศตามเวลาจริงโดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม การคำนวณออกแบบวัสดุใหม่ แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง การศึกษาการทำงานของชีวโมเลกุล และความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยาของไทย และในด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์การบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการจราจร การบริหารการสาธารณสุข ประมวลข้อมูลการกระจายรายได้

view original