Trad Programming vs Machine Learning

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์

ยามที่อรุณรุ่งของ AI เดินทางมาถึง เราก็จะได้ยินคำว่า AI บ่อยขึ้น ทั้งหน้าฟีด ทีวี และเรื่องที่คนคุยกัน จริงๆแล้วคำว่า AI เป็น “คำเก่า” ใช้มาอย่างยาวนานและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตอนที่มีหนังและนิยายไซไฟดังๆ เอาคำนี้มาเล่น โดยสื่อว่า จะมีหุ่นยนต์ที่ฉลาดเกินมนุษย์ คิดเป็น รู้สึกได้ และเรียกสิ่งนี้ว่า Artificial Intelligence หรือเรียกสั้นๆว่า AI

ส่วนอีกคำ Machine Learning ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก คำอาจจะดูแข็งๆไปหน่อย แต่ก็เริ่มมีการพูดถึงพอสมควร ถึงแม้จะกระจุกตัวในกลุ่มสายเทคก็ตาม นัยยะของคำนี้ มีความลึกซึ้งและจินตนาการไปไกลพอสมควร เพราะแทนที่จะโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเรื่องต่างๆ แต่กลับเน้นให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในยุคเริ่มต้นย้อนไปไกลถึงปี 1958 หลังสงครามโลกครั้งที่สองมาไม่นาน ก็นับว่าเป็นความคิดที่ล้ำมาก แต่ก็ยังคิดไม่ค่อยออกว่าจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร

ปัจจุบันระบบ AI ที่เราเห็นนั้น อย่าง ChatGPT ที่ Sam Altman มักจะเรียกสั้นๆว่า “Language Model” มากกว่า “AI”
มันคือ Machine Learning ระบบมันเรียนรู้เรื่องต่างๆจาก ข้อมูลที่เทรนเข้าไป มากกว่าไปสร้างกฏโน่นนี่นั่นให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ

ดังนั้น Machine Learning กับวิธีการเขียนโปรแกรมแบบเก่าๆ มันมีความแตกต่างกันอย่างมากในแง่แนวคิด ผมให้ดูผังที่แสดงความแตกต่างสองเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจน

เขียนโปรแกรมแบบเก่า เราเริ่มต้นจากการสร้างเงื่อนไขกฏต่างๆที่เราต้องการ จากนั้นก็ใส่ข้อมูลเข้าไป เมื่อรันโปรแกรมก็จะได้ผลลัพธ์ออกมา อย่างเช่น ข้อมูลคาดการณ์ฝนตก เดิมเราอาจจะคิดว่ามันต้องใช้สูตรนั้นสถิตินี้ โดยมนุษย์ตัดสินใจ แล้วก็ป้อนข้อมูลเข้าไป จากนั้นก็จะได้คำตอบออกมา

แต่ถ้าเป็น Machine Learning เราไม่ต้องไปนั่งคิดสร้างกฎ สร้างสูตรสถิติแต่อย่างใด เพียงแต่หาชุดข้อมูลป้อนเข้าไป พร้อมชุดคำตอบของเดิมที่มีอยู่ ใส่เข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วระบบก็จะคำนวนออกมาเองว่า สูตรที่ควรจะเป็นคือสูตรใด และสูตรที่ว่านั้นก็ประกอบไปด้วย Math สี่ห้าตัวดังที่เคยเขียนไปในบทความก่อนหน้านี้

ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้อยู่ในสายเทคโดยตรง อาจจะไม่ต้องมานั่งจำอะไรพวกนี้ เพียงแต่ให้เข้าใจคอนเซปต์แนวคิด ว่ามันต่างกันอย่างไรก็เพียงพอ พอที่จะเป็นฐานความรู้ที่แน่นมากขึ้นในการสนทนา

ร่วมสนับสนุนบทความสั้นเพียงแต่คอมมเนท์และแชร์ครับ