AI products like ChatGPT much hyped but not much used, study says

ผลสำรวจพบว่า มีเพียงไม่กี่คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์ เช่น ChatGPT เป็นประจำ

Very few people are regularly using “much hyped” artificial intelligence (AI) products like ChatGPT, a survey suggests.

การศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ AI เช่น ChatGPT ได้รับความนิยมมากแต่ไม่ค่อยได้ใช้จริงมากนัก

ผลสำรวจพบว่า มีเพียงไม่กี่คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์ เช่น ChatGPT เป็นประจำ

นักวิจัยได้สำรวจผู้คน 12,000 คน ใน 6 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจชาวอังกฤษเพียง 2% เท่านั้น ที่บอกว่าพวกเขาใช้เครื่องมือดังกล่าวเป็นประจำทุกวัน

แต่ผลการศึกษาจากสถาบันรอยเตอร์ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระบุว่าคนหนุ่มสาวมีแนวโน้มสวนทางกับเทรนด์นี้ โดยคนอายุ 18 ถึง 24 ปีเป็นกลุ่มคนที่กระตือรือร้นที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้มากที่สุด

ดร. ริชาร์ด เฟลตเชอร์ ผู้เขียนรายงานกล่าวกับ BBC ว่า มีความไม่สอดคล้องกัน ระหว่างกระแส AI ที่ได้รับความสนใจเกินจริง กับผลประโยชน์จริง ที่ผู้ใช้ได้ในการใช้งานประจำวัน 

การศึกษานี้ ตรวจสอบมุมมองเกี่ยวกับเครื่องมือ  Generative AI  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่สามารถตอบสนอง text prompt ที่เรียบง่าย พร้อมคำตอบที่ฟังดูเหมือนการโต้ตอบกับมนุษย์ รวมถึงรูปภาพ เสียง และวิดีโอ

Generative AI เป็นที่รู้จักของสาธารณชน เมื่อ ChatGPT เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2022

ความสนใจของแชทบอทของ OpenAI ทำให้เกิดการแข่งขันด้าน AI อย่างยิ่งใหญ่ระหว่างบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาได้ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาฟีเจอร์  Generative AI 

AI คืออะไร?

อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับเงินลงทุน และความสนใจทั้งหมดที่ให้กับ Generative AI นั้น ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้อินเทอร์เน็ตตามปกติของผู้คน

“ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนใจใช้ Generative AI อะไรเป็นพิเศษ และ 30% ของคนในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า พวกเขาไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นที่สุดใดๆ รวมถึง ChatGPT” ดร. เฟลทเชอร์ กล่าว

ความหวังและความหวาดกลัว

ผลิตภัณฑ์ AI รุ่นใหม่ ยังจุดประกายการโต้เถียงกันอย่างเข้มข้นว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะมีผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบ

ผลลัพธ์ที่คาดการณ์ไว้สำหรับกลุ่มมอง AI ในแง่ดี มีตั้งแต่การใช้งาน AI เพิ่มขึ้นไป จนถึงการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงการค้นพบยารักษาชีวิตชนิดใหม่

ในขณะเดียวกัน กลุ่มมอง AI ในแง่ร้ายก็ไปไกลถึงขั้นแนะนำว่าเทคโนโลยีนี้เป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติเอง

งานวิจัยนี้พยายามสำรวจว่าประชาชนคิดอย่างไร โดยพบว่า:

คนส่วนใหญ่คาดหวังว่า Generative AI จะมีผลกระทบอย่างมากต่อสังคมในอีกห้าปีข้างหน้า โดยเฉพาะในด้านข่าว สื่อ และวิทยาศาสตร์

ส่วนใหญ่กล่าวว่าพวกเขาคิดว่า generative AI จะทำให้ชีวิตของตนเองดีขึ้น

เมื่อถูกถามว่า generative AI จะทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้นหรือแย่ลง ผู้คนมักมองโลกในแง่ร้ายมากกว่า

“ความหวังและความหวาดกลัวของผู้คนเกี่ยวกับ generative AI นั้นแตกต่างกันไปมากขึ้นอยู่กับภาคส่วนนั้น” ดร. เฟลตเชอร์ บอกกับ BBC

“โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักจะมอง AI ในแง่ดี โดยเฉพาะการใช้ generative AI ในด้านวิทยาศาสตร์และการดูแลสุขภาพ แต่จะระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการนำไปใช้ในข่าวและสื่อสารมวลชน และกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความมั่นคงในการทำงาน”

เขากล่าวว่าการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน รวมถึงรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล ที่จะสร้างความแตกต่าง เพื่อแสวงหาประโยชน์ และป้องกันการนำ  AI ไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

การวิจัยนี้ อ้างอิงจากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ใน 6 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

view original *