Tesla shows its humanoid robot Optimus at China AI conference, but behind glass

แม้ว่าหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์จะเริ่มถูกนำมาใช้ในประเทศจีนในการใช้งานที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ 

Although humanoid robots have started to be used in China in a variety of applications, they are still in the lab research stage, according to manufacturers.

Tesla จัดแสดงหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ Optimus ในการประชุม China AI แม้จะไม่มีการสาธิตการทำงาน

Tesla เปิดตัวหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ second-generation Optimus ที่การประชุมปัญญาประดิษฐ์โลกในเซี่ยงไฮ้เมื่อวันพฤหัสบดี ทำให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ AI ของอเมริกาไม่กี่ตัวที่เห็นในงานแสดง AI ชั้นนำของจีน

หุ่นยนต์อฮิวแมนนอยด์ second-generation Optimus ซึ่งติดตั้งโครงข่ายประสาทเทียม (neural network) และเทคโนโลยีการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์ (computer vision technology) ที่พัฒนาขึ้นโดย Tesla เอง นับเป็นอนาคตของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ เพราะมีความสามารถจัดการงานได้หลายอย่าง

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla กล่าวในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทว่า หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ ซึ่งยังไม่ได้เข้าสู่การผลิตเต็มรูปแบบ สามารถยกระดับมูลค่าตลาดของ Tesla เป็น 25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในอนาคต

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ Optimus เพียงตัวเดียว ที่จัดแสดงในงานเซี่ยงไฮ้ ดึงดูดความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะถูกจัดแสดงนิ่งๆ อยู่ในตู้กระจกก็ตาม ไม่ได้สาธิตการขยับหรือโต้ตอบกับผู้มาเยี่ยมชมเลย ขณะเดียวกัน Tesla ได้โปรโมตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บนโซเชียลมีเดียของจีน Weibo โดยขอให้สาธารณชน “ร่วมเป็นสักขีพยานในวิวัฒนาการเพิ่มเติมของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์”

บริษัทหุ่นยนต์ในจีนจำนวนหนึ่ง ที่นำผลิตภัณฑ์ของตนมาจัดแสดงเป็นคู่แข่งกับ Optimus ได้แก่ Fourier, Tlibot, Dataa Robotics, Robotera, Leju Robot, Shanghai Kepler Robot และ Ti5 Robot จากเซี่ยงไฮ้ ได้ขึ้นเวทีกลางเพื่อสาธิตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ให้ผู้เข้าชมได้ชม

มีการนำเสนอหุ่นยนต์ทั้งหมด 18 ตัว รวมถึง “Healthy Loong” ที่พัฒนาโดย Humanoid Robots (Shanghai) ที่ถูกนำเสนอในงาน

แม้ว่าหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์จะเริ่มถูกนำมาใช้ในประเทศจีนในภาคส่วนต่างๆ เช่น การศึกษา ความบันเทิง การดูแลสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ และการผลิตในโรงงาน แต่หุ่นยนต์เหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ตามที่ตัวแทนจากบริษัทต่างๆ ระบุ และยังไม่ได้เปิดตัวเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้า

วิศวกรของ Tlibot บริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 2555 ในเมืองเหมียนหยาง มณฑลเสฉวน ระบุว่า แม้จะถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่มีแนวโน้มมากที่สุดในยุคของ AI แต่หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่มีต้นทุนสูง ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ในวงกว้างได้

วิศวกรรายนี้กล่าวว่าหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อาจมีราคาระหว่าง 500,000 หยวน (70,000 เหรียญสหรัฐ) ถึง 1 ล้านหยวน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของฟังก์ชัน ในการเปรียบเทียบ Optimus ของ Tesla คาดว่าจะขายได้ในราคา 30,000 เหรียญสหรัฐ

Leju Robot สาธิตหุ่นยนต์ Kuavo ที่ขับเคลื่อนโดย Kaihong OS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้มาจาก OpenHarmony ของ Huawei ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สสำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะ Wu Changxuan วิศวกรของ Leju Robot กล่าวว่าการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์สำหรับหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์นั้นมีความท้าทายมากกว่าฮาร์ดแวร์ เนื่องจากบริษัทกำลังสำรวจวิธีการขยายแอพพลิเคชั่นใช้งานให้กว้างขึ้น

จีนตั้งเป้าที่จะบรรลุการผลิตหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์จำนวนมากภายในปี 2568 ตามแนวทางที่เผยแพร่โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

view original *