ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ ฮินตัน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “AI godfather – เจ้าพ่อแห่งปัญญาประดิษฐ์” กล่าวว่ารัฐบาลจะต้องสร้างรายได้พื้นฐานที่เป็นสากล เพื่อรับมือกับผลกระทบของ AI ที่มีต่อความไม่เท่าเทียมกัน
The computer scientist regarded as the “godfather of artificial intelligence” says the government will have to establish a universal basic income to deal with the impact of AI on inequality.
AI godfather ชี้รัฐบาลจะต้องปฏิรูปสวัสดิการ มีรายได้พื้นฐานให้พลเมือง เพื่อรับมือกับผลกระทบของ AI
ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ ฮินตัน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “AI godfather – เจ้าพ่อแห่งปัญญาประดิษฐ์” กล่าวว่ารัฐบาลจะต้องสร้างรายได้พื้นฐานที่เป็นสากล เพื่อรับมือกับผลกระทบของ AI ที่มีต่อความไม่เท่าเทียมกัน
ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ ฮินตัน บอกกับ BBC Newsnight ว่าการปฏิรูปสวัสดิการ โดยให้เงินจำนวนคงที่แก่พลเมืองทุกคนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเขากังวลว่า AI จะถูกนำมาทำงานพื้นฐานจำนวนมาก ทดแทนแรงงานมนุษย์
ผมได้ถูกขอคำปรึกษาจากผู้คนในรัฐบาล ผมแนะนำพวกเขาว่า การปฏิรูปสวัสดิการ ให้รายได้ขั้นพื้นฐานสากลแก่พลเมืองเป็นความคิดที่ดี
ศาสตราจารย์ฮินตัน กล่าวในขณะที่เขารู้สึกว่า AI จะเพิ่มผลผลิตและความมั่งคั่ง แต่เงินจะตกเป็นของคนรวย “ไม่ใช่คนที่ตกงานและจะส่งผลเสียต่อสังคมอย่างมาก”
ศาสตราจารย์ฮินตันเป็นผู้บุกเบิก neural networks ซึ่งเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีของการเติบโตอย่างรวดเร็วของปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน
เขาเคยทำงานที่ Google แต่ลาออกจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี เมื่อปีที่แล้ว เพื่อที่เขาจะได้พูดคุยได้อย่างอิสระมากขึ้นเกี่ยวกับอันตรายจาก AI ที่ไม่ได้รับการควบคุม
แนวคิดเรื่องรายได้ขั้นพื้นฐานสากลถือเป็นการที่รัฐบาลจ่ายเงินเดือนให้กับบุคคลทุกคนโดยไม่คำนึงถึงรายได้ของพวกเขา
นักวิจารณ์กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และเปลี่ยนเงินทุนไปจากการบริการสาธารณะ ขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องช่วยบรรเทาความยากจนเสมอไป
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า “ไม่มีแผนที่จะนำรายได้ขั้นพื้นฐานสากลมาใช้”
ศาสตราจารย์ฮินตันย้ำถึงความกังวลของเขาว่ามีภัยคุกคามระดับการสูญพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้น
การพัฒนาในปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่เต็มใจที่จะควบคุมการใช้ AI ในทางการทหาร เขากล่าว ในขณะที่การแข่งขันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วหมายความว่ามีบริษัทเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงจะไม่ “ใช้ความพยายามมากพอในเรื่องความปลอดภัย”
ศาสตราจารย์ฮินตันกล่าวว่า “ผมเดาว่าอยู่ระหว่าง 5 ถึง 20 ปี ต่อจากนี้ มีความเป็นไปได้ว่า ครึ่งหนึ่งของพวกเรา ที่จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาของ AI ที่จะเข้ามาคุกคามมนุษย์”
สิ่งนี้จะนำไปสู่ “ภัยคุกคามระดับสูญพันธุ์” สำหรับมนุษย์ เพราะว่าเราสามารถ “สร้างรูปแบบหนึ่งของสติปัญญาที่ดีกว่าความฉลาดทางชีววิทยา… นั่นเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับเรามาก”
AI สามารถวิวัฒนาการตัวเอง ให้ฉลาดมากขึ้น โดยพัฒนาเป้าหมายย่อยโดยอัตโนมัติ เพื่อไปสู่การยกระดับตัวเองขึ้นไป
เขากล่าวว่ามีหลักฐานที่ชัดเจนอยู่แล้ว Large Language Models (LLMs) ซึ่งเป็นอัลกอริธึม AI ประเภทหนึ่ง ที่สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ สามารถสร้างคำตอบที่แนบเนียน จนคุณเข้าใจว่าเป็นความจริง แม้ว่า AI จะให้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
เขากล่าวว่าการประยุกต์ใช้ AI เมื่อเร็ว ๆ นี้เพื่อสร้างเป้าหมายทางทหารจำนวนมากมายหลายโครงการ นั่นคือ จุดเริ่มต้นของหายนะ
“สิ่งที่ฉันกังวลมากที่สุดคือเมื่อ AI เหล่านี้สามารถตัดสินใจสังหารผู้คนได้โดยอัตโนมัติ” เขากล่าว
ศาสตราจารย์ฮินตันกล่าวว่าสิ่งที่คล้ายกับอนุสัญญาเจนีวา – สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐานทางกฎหมายสำหรับการปฏิบัติด้านมนุษยธรรมในสงคราม – อาจจำเป็นต้องมีเพื่อควบคุมการใช้ AI ทางทหาร
“แต่ฉันไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นจนกว่าจะมีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น” เขากล่าวเสริม
เมื่อถูกถามว่าชาติตะวันตก กำลังแข่งขันกันอย่างรุนแรง คล้ายในสมัยโครงการแมนฮัตตัน ที่แข่งขันวิจัยอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบัน มีระบอบเผด็จการ เช่น รัสเซีย และจีน พัฒนาการใช้ AI ในกองทัพหรือไม่ ศาสตราจารย์ฮินตันตอบว่า “[ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์] ปูตินเคยกล่าวไว้บ้าง หลายปีก่อน ใครก็ตามที่ควบคุม AI จะควบคุมโลก ฉันเลยจินตนาการว่าพวกเขาทำงานหนักมากในการพัฒนา AI ในกองทัพ
“โชคดีที่ชาติตะวันตกอาจนำหน้าพวกเขาในด้านการวิจัย เราอาจยังนำหน้าจีนอยู่เล็กน้อย แต่จีนกำลังทุ่มทรัพยากรมากขึ้น ดังนั้นในแง่ของการใช้งานทางทหาร ฉันคิดว่าจะต้องมีการแข่งขัน”
เขากล่าวว่าวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าคือการห้ามใช้ AI ทางทหาร