This is Japan’s first AI-generated manga comic. But is it art?

การ์ตูนไซไฟเรื่องหนึ่งที่กำลังจะวางแผงในญี่ปุ่น ผู้สร้างสรรค์ผลงานยอมรับว่า เขาไร้พรสวรรค์ในการวาดภาพอย่างสิ้นเชิง แบบเรียกได้ว่า “เป็นศูนย์” ดังนั้นเขาจึงหันมาใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างการ์ตูนมังงะแนวดิสโทเปีย แต่เราจะนับมังงะชิ้นนี้เป็นศิลปะได้หรือไม่

The author of a sci-fi manga about to hit shelves in Japan admits he has “absolutely zero” drawing talent, so turned to artificial intelligence to create the dystopian saga.

นี่คือการ์ตูนมังงะ ที่สร้างขึ้นโดย AI เรื่องแรกของญี่ปุ่น

การ์ตูนมังงะเรื่องล่าสุด “Cyberpunk: Peach John” ผู้สร้างสรรค์มังงะในนามแฝง  Rootport จินตนาการถึง Momotaro ฮีโร่ในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่น ซึ่งกล่าวกันว่าเกิดมาจากลูกพีชยักษ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในโลกอนาคตแบบดิสโทเปีย แต่ในขณะที่ผู้เขียนสร้างโครงเรื่องและบทสนทนา ภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจจากไซไฟของเขานั้นถูกสร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ทั้งหมด

ผู้สร้างสรรค์การ์ตูนมังงะ อายุ 37 ปี คนนี้ ไม่เคยวาดการ์ตูนด้วยมือมาก่อนเลย  สำนักพิมพ์ Shinchosha ซึ่งอยู่เบื้องหลังผลงานชิ้นนี้ ตัดสินใจตีพิมพ์ ด้วยความมั่นใจว่า “Cyberpunk: Peach John” คือผลงานมังงะ AI ฉบับสมบูรณ์เรื่องแรกของโลก ได้วางจำหน่ายในญี่ปุ่นตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ผ่านมามันถูกสร้างภาพประกอบโดยใช้ Midjourney ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างภาพออนไลน์ที่สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียดตามคำบรรยายของ Rootport โดยเขาบรรยายฉากหลัง เป็นเมืองโตเกียว จินตนาการ แล้วป้อนเป็นข้อความพรรณา บรรยายบรรยากาศ ตลอดจนตัวละครต่างๆ จากนั้นเขาได้ปรับแต่งโดยใช้การลองผิดลองถูก เพื่อสร้างภาพที่เข้ากับโครงเรื่องของเขา

Rootport ออกแบบตัวละครของเขามีคุณลักษณะที่โดดเด่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านจดจำตัวละครได้ง่าย ในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป

Rootport ผู้สร้างสรรค์ผลงานมังงะนิรนาม ให้สัมภาษณ์กับ CNN ทางอีเมล ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตน เนื่องจากปัญหาความเป็นส่วนตัว กล่าวว่า เขาทำงานเสร็จภายในเวลาเพียง 6 สัปดาห์ ด้วยความหนามากกว่า 100 หน้า มังงะสี่สีทั้งเล่ม ปกติ ผลงานมังงะขนาดนี้ ถ้าวาดด้วยมือง จะกินดวลามากกว่าหนึ่งปี กับการทำงานอย่างหนัก จึงจะเสร็จสมบูรณ์ เครื่องมือสร้างภาพ AI ออนไลน์ เช่น Midjourney, DALL-E 2, Stable Diffusion และ Imagen ของ Google ได้รับความนิยมอย่างมาก ถูกนำไปสร้างสรรค์งานมากมาย นับตั้งแต่เปิดตัวสู่สาธารณะเมื่อปีที่แล้ว แต่ในบางครั้ง ผู้สร้างสรรค์มังงะต้องใช้ความพยายาม หาหนทางหลายๆ วิธี เพื่อหาทางสร้าง “ภาพที่สมบูรณ์แบบ สำหรับฉากใดฉากหนึ่ง”

ข้อจำกัดประการหนึ่ง ของ Midjourney คือไม่สามารถจำลองตัวละครที่มีอยู่โดยตรงในท่าทางใหม่ หรือการแสดงออกทางสีหน้า ที่แตกต่างกัน อย่างอิสระเหมือนมังงะที่เขียนด้วยมือได้ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Rootport ออกแบบลักษณะตัวละครของเขา ให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ผมสีชมพู หูสุนัข หรือชุดกิโมโนสีแดง ที่จะช่วยให้ผู้อ่านจำแนกตัวละครได้ ในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป

view original*