The Beatles are releasing their ‘last’ record. AI helped make it possible

ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้เพื่อแยกเสียงของ John Lennon จากเดโม่เก่าเพื่อสร้าง “เพลงล่าสุดของ The Beatles” หลายสิบปีหลังจากยุบวงไป Paul McCartney กล่าวเมื่อวันอังคาร

LONDON (AP) — Artificial intelligence has been used to extract John Lennon’s voice from an old demo to create “the last Beatles record,” decades after the band broke up, Paul McCartney said Tuesday.

The Beatles จะปล่อยเพลง ‘สุดท้าย’ ของพวกเขา ด้วยศักยภาพของ AI

ลอนดอน (AP) – ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้เพื่อแยกเสียงของ John Lennon จากเดโม่เก่าเพื่อสร้าง “เพลงล่าสุดของ The Beatles” หลายสิบปีหลังจากยุบวงไป Paul McCartney กล่าวเมื่อวันอังคาร

แมคคาร์ทนีย์ วัย 80 ปี บอกกับบีบีซีว่าเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้เพื่อแยกเสียงของ The Beatles ออกจากเสียงแบ็คกราวด์ในระหว่างการสร้างซีรีส์สารคดีเรื่อง “The Beatles: Get Back” ของผู้กำกับ ปีเตอร์ แจ็คสันในปี 2021 เพลง “ใหม่” มีกำหนดจะปล่อยในปลายปีนี้ เขากล่าว

ปีเตอร์ แจ็คสัน อธิบายว่า สามารถแยกเสียงของ จอห์น เลนน่อน ออกจากเทปคาสเซ็ท และเปียโน ได้เล็กน้อย แมคคาร์ทนีย์บอกกับวิทยุบีบีซี “เขาสามารถแยกพวกมันได้ด้วย AI เขาจะใช้ text prompts บอกกับเครื่องว่า ‘นั่นคือเสียงร้อง นี่คือเสียงกีตาร์ ดึงเอาเสียงกีตาร์ออกไป’”

“ดังนั้น เมื่อเรามาทำสิ่งที่จะเป็นความทรงจำสุดท้ายของ The Beatles นั่นคือตัวอย่างเพลงที่จอห์น ทำเอาไว้ให้พวกเรา” เขากล่าวเสริม เราสามารถนำเสียงของจอห์นมาทำให้บริสุทธิ์ได้ผ่าน AI ดังนั้น เราจึงสามารถมิกซ์เสียงเหมือนที่เคยทำมาตลอด และสานต่อเพลงที่ทำค้างไว้

McCartney ไม่ได้ระบุชื่อเพลง ที่จอห์นทำค้างเอาไว้ แต่ BBC และคนอื่น ๆ บอกว่ามันน่าจะเป็นเพลงรักในปี 1978 ที่ยังทำไม่เสร็จของ Lennon ที่ชื่อว่า “Now and Then” เพลงที่จอห์นทำค้างไว้ รวมอยู่ในเทปคาสเซ็ตที่เขียนที่ปกเทปว่า “For Paul” ซึ่งแมคคาร์ทนีย์ได้รับจาก โยโกะ โอโนะ ภรรยาม่ายของเลนนอน บีบีซีรายงาน

McCartney อธิบายถึงเทคโนโลยี AI ว่า “ค่อนข้างน่ากลัว แต่น่าตื่นเต้น” และเสริมว่า “เราต้องดูว่า มันจะนำไปสู่สิ่งใด”

เทคโนโลยีเดียวกันนี้ ทำให้แมคคาร์ทนีย์สามารถร้อง “ดูเอ็ท” กับเลนนอน ซึ่งถูกฆาตกรรมในปี 1980 ในรายการ “I’ve Got a Feeling” เมื่อปีที่แล้วที่เทศกาลกลาสตันเบอรี

Holly Herndon ศิลปินที่จบปริญญาเอก สาขาการประพันธ์เพลงจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ทดลองใช้เทคโนโลยีเครื่อง AI ในอัลบั้มล่าสุดของเธอ “Proto” ในปี 2019 และพัฒนา Holly+ ซึ่งเป็นโปรโตคอลออนไลน์ ที่ช่วยให้ศิลปินสามารถอัปโหลดเพลงที่มีอยู่ เพื่อตีความ เรียบเรียงเพลงใหม่ หรือใส่เสียงของเธอที่สร้างจาก deepfake

เธอให้ความเห็นว่า การบันทึกเสียงของ The Beatles ในโครงการนี้ น่าจะสร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่า “source separation”

source separation การแยกแหล่งที่มาทำได้ง่ายกว่ามากด้วยแมชชีนเลิร์นนิง วิธีนี้ทำให้คุณสามารถแยกเส้นเสียงออกจากการบันทึกเสียง แยกเสียงร้องออกมา นำมาปรับปรุงคุณภาพด้วย AI ใช้เครื่องมือใหม่ เสียงดนตรีใหม่ เรียบเรียงเพลงร่วมกับเสียงนั้น เธออธิบาย

นั่นแตกต่างจาก Deepfake vocal “Depfake คือเส้นเสียงใหม่ทั้งหมด (new vocal line) ที่เกิดจาก machine learning model ที่ได้รับการฝึกฝนจากเส้นเสียงเก่า (old vocal lines)” เธอกล่าว แม้ว่าจะไม่ได้มีการใช้ Deepfake vocal ในโครงการของ McCartney แต่ด้วยเทคโนโลยีนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างเพลงใหม่ได้อย่างไม่สิ้นสุด จากการสังเคราะห์จากวัสดุบันทึกเสียงที่มี ซึ่งเป็นกระบวนการที่คล้ายคลึงกันเพื่อฟื้นคืนจิตวิญญาณให้กับเพลงของ The Beatles

McCartney มีกำหนดจะเปิดนิทรรศการในปลายเดือนนี้ที่ National Portrait Gallery ในลอนดอน โดยนำเสนอภาพถ่ายที่ไม่เคยเห็นมาก่อนซึ่งเขาถ่ายในช่วงแรกๆ

นิทรรศการนี้มีชื่อว่า “Eyes of the Storm” จัดแสดงภาพถ่ายมากกว่า 250 ภาพที่แมคคาร์ทนีย์ถ่ายด้วยกล้องของเขาระหว่างปี 1963 ถึง 1964 รวมถึงภาพของ Ringo Starr, George Harrison และ Lennon รวมถึง Brian Epstein ผู้จัดการวง The Beatles

view original *