Marc Andreessen says we’re in a ‘freeze-frame moment’ with A.I.—and has advice for young people

Marc Andreessen สร้างกระแสเมื่อต้นเดือนนี้ด้วยการเขียนแถลงการณ์ที่มีการถกเถียงกันมากว่า เหตุใดปัญญาประดิษฐ์จึงไม่ทำลายมนุษยชาติ แต่กลับทำให้โลกดีขึ้น ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทร่วมทุน Andreessen Horowitz เขายังเขียนบทความที่มีอิทธิพลในปี 2011 เรื่อง “ทำไมซอฟต์แวร์ถึงกินโลก (Why Software Is Eating the World.)”

Marc Andreessen made waves earlier this month by writing a much-discussed manifesto on why artificial intelligence won’t destroy humanity but rather make the world profoundly better. A cofounder of the venture capital firm Andreessen Horowitz, he also wrote the influential 2011 essay “Why Software Is Eating the World.”  

Marc Andreessen. KIMBERLY WHITE/GETTY IMAGES FOR FORTUNE

Marc Andreessen กล่าวว่า เรากำลังอยู่ใน ‘จุดเปลี่ยน’ ด้วย A.I. ทางลัดสู่ความสำเร็จ

Marc Andreessen สร้างกระแสเมื่อต้นเดือนนี้ด้วยการเขียนแถลงการณ์ที่มีการถกเถียงกันมากว่า เหตุใดปัญญาประดิษฐ์จึงไม่ทำลายมนุษยชาติ แต่กลับทำให้โลกดีขึ้น ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทร่วมทุน Andreessen Horowitz เขายังเขียนบทความที่มีอิทธิพลในปี 2011 เรื่อง “Why Software Is Eating the World.”

Andreessen ให้เหตุผลว่าต้องขอบคุณ A.I. “การเติบโตของประสิทธิภาพของการผลิตทั่วทั้งเศรษฐกิจจะเร่งตัวขึ้นอย่างมาก ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ การสร้างงานใหม่ และการเติบโตของค่าจ้าง และส่งผลให้เกิดยุคใหม่ของความเจริญทั่วโลก”

สัปดาห์นี้ ในรายการ Lex Fridman Podcast เขาแนะนำแก่คนหนุ่มสาว เขาอธิบายถึงจุดเปลี่ยนด้วย A.I. ซึ่งเครื่องมืออย่าง ChatGPT และ GPT-4 พร้อมที่พร้อมใช้งานทันที ทุกคนกำลังคิดว่าจะใช้ AI ทำอะไรได้บ้าง ที่จะสร้างทางลัดสู่ความสำเร็จ

เขาตั้งข้อสังเกตว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในโลกที่ข้อมูลจำนวนมหาศาลอยู่ใกล้แค่ปลายนิ้ว และด้วยเครื่องมือ A.I.  ความสามารถในการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ของคุณสูงขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากมาย

เครื่องมือดังกล่าวเปิดโอกาสให้ คนหนุ่มสาวกลายเป็นคนที่มีประสิทธิผลสูง (hyper-productive people) แบบก้าวกระโดด เขากล่าว ตัวอย่างเช่น ไม่มีเหตุผลใดที่ นักประพันธ์และนักดนตรีรุ่นใหม่ จะไม่สามารถเขียนนวนิยาย หรือแต่งเพลงออกมา ได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาในอดีต

มีข้อสงสัยเล็กน้อยว่า เครื่องมือ  A.I. สามารถทำให้คนมีประสิทธิผลมากขึ้นจริงหรือ Ethan Mollick ศาสตราจารย์ด้านการจัดการที่ Wharton School of the University of Pennsylvania ได้ทำการทดลองเมื่อต้นปีนี้เพื่อดูว่าโครงการธุรกิจหนึ่งๆ จะเสร็จภายใน 30 นาที ได้เพียงแค่สั่ง A.I. เครื่องมือ เช่น ChatGPT และปล่อยให้ A.I. ทำงาน เขาเรียกคนเหล่านี้ว่า “superhuman”

แน่นอนว่า ผู้ตั้งแต่อดีตเหล่าคนที่มีประสิทธิผลสูง (hyper-productive people)  สร้างความสำเร็จมานานก่อนที่ A.I. จะเกิดขึ้น Andreessen ยกตัวอย่าง เช่น Pliny the Elder นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน และในโลกปัจจุบัน Richard Posner อดีตผู้พิพากษาของรัฐบาลกลาง ที่เขียนหนังสือหลายสิบเล่มเกี่ยวกับหัวข้อที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง

คำถามคือ ทำไมจึงมีคนเหล่านี้ ไม่มาก ในเทคโนโลยีในปัจจุบัน Andreessen ตอบว่า “ฉันคิดว่า คนอาจถูกดึงดูดให้สนใจในเรื่องอื่น ง่ายมากที่จะนั่งลง และใช้งานในฐานะผู้บริโภค โดยไม่คิดจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง”

เขาไม่ได้อธิบายอย่างละเอียด แต่ก็ไม่เป็นความลับที่โซเชียลมีเดีย วิดีโอเกม สตรีมมิงและสื่อแบบดั้งเดิมกำลังแข่งขันกันเพื่อเวลาและความสนใจของเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน Andreessen แนะนำว่าคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานในปัจจุบัน สามารถสร้างผลงานที่เป็นของตัวเองได้อย่างง่ายดาย โดยการลดสิ่งรบกวนดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงสุดด้วยเครื่องมือที่ “น่าทึ่ง” ที่มีให้ใช้งานในตอนนี้

“ในฐานะคนหนุ่มสาว ถ้าคุณต้องการก้าวไปข้างหน้า แล้วสร้างความโดดเด่นให้กับตัวเอง” เขากล่าว “คุณสามารถเข้าสู่ hyper-productivity curve จดจ่ออยู่กับการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วใช้ A.I. ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ”

view original *