Belle, the inobtrusive AI robot fish, is helping researchers to protect our marine ecosytems

บอตอัตโนมัติสามารถเก็บตัวอย่างและถ่ายทำใต้น้ำ ให้ภาพที่มีรายละเอียดของสภาพแวดล้อมโดยไม่รบกวนสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ นักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาหุ่นยนต์ปลาอัตโนมัติแบบใหม่ที่สามารถให้นักอนุรักษ์เห็นภาพสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลได้ชัดเจนขึ้น โดยไม่รบกวนสิ่งมีชีวิตในทะเล

The autonomous bot can collect samples and film underwater, providing a detailed picture of the environment without disturbing it. Researchers in Switzerland have developed a new, autonomous fish robot capable of giving conservationists a clearer picture of the organisms that live under the sea without disturbing the marine environment.

Belle ปลาหุ่นยนต์ AI ผู้ช่วยนักวิจัย ปกป้องระบบนิเวศทางทะเล โดยไม่รบกวนสิ่งมีชีวิตในทะเล

บอตอัตโนมัติสามารถเก็บตัวอย่างและถ่ายทำใต้น้ำ ให้ภาพที่มีรายละเอียดของสภาพแวดล้อมโดยไม่รบกวนสิ่งมีชีวิตในทะเล

นักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาหุ่นยนต์จับปลาอัตโนมัติแบบใหม่ที่สามารถให้นักอนุรักษ์เห็นภาพสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลได้ชัดเจนขึ้นโดยไม่รบกวนสิ่งมีชีวิดในทะเล

หุ่นยนต์ที่นักพัฒนาตั้งชื่อให้ว่า Belle  ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีค่าด้วยวิธีที่บุกรุกน้อยที่สุด

“เราต้องการจับภาพระบบนิเวศในลักษณะที่พวกมันมีพฤติกรรมจริง” Leon Guggenheim นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลที่ ETH Zurich สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธรัฐสวิสกล่าวกับรอยเตอร์

Guggenheim บอกว่า หุ่นยนต์ที่ออกแบบในรูปทรงปลา Belle เงียบ เคลื่อนไหวเหมือนปลา และไม่สร้างความตื่นตระหนกเมื่อเธอเคลื่อนที่ผ่านสภาพแวดล้อมของเธอ

Robert Katzschmann ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ของ ETH Zurich กล่าวว่า “พื้นที่เหล่านั้นมีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อระบบที่ใช้ใบพัดซึ่งจะทำความเสียหายต่อแนวปะการัง และทำให้ปลาตกใจ”

หุ่นยนต์ตัวนี้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อนำทางตัวเองใต้น้ำ และสามารถเก็บตัวอย่าง DNA และวิดีโอความละเอียดสูงในขณะที่ผสมผสานเข้ากับสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง

ด้วยขนาดที่ต่ำกว่า 1 เมตรและหนักเกือบ 10 กก. Belle ขับเคลื่อนด้วยครีบซิลิโคนที่มีโพรง 2 ช่อง ซึ่งจะสูบน้ำเป็นรอบๆ

“ช่องเหล่านี้เติมและเทน้ำออกผ่านระบบปั๊ม และนั่นทำให้ครีบเคลื่อนไปมา เพราะคุณมีช่องด้านหนึ่งซึ่งสร้างแรงดันเกิน และช่องอีกด้านทำให้เกิดสุญญากาศ จากนั้นจึงงอครีบไปในทิศทางเดียว” Guggenheim กล่าว

ผลกระทบของการประมงเกินขนาด และสร้างมลพิษ

เป้าหมายคือให้หุ่นยนต์ทำงานโดยอัตโนมัติเป็นเวลาสองชั่วโมงก่อนที่ DNA ของสิ่งแวดล้อมหรือ eDNA จะกรองข้อมูลออก และจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่

“มันว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำ ส่งสัญญาณ GPS ให้เรา จากนั้นเราก็ไปนำมันกลับมาอีกครั้ง” Guggenheim กล่าว

“และจากจุดนั้น มันสามารถส่งข้อมูลให้เราได้ แต่แนวคิดก็คือภารกิจนั้นยาวนานมาก ยังไงก็ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่อยู่ดี และยังไงก็ต้องเปลี่ยนตัวกรอง DNA สิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งข้อมูลกลับหากคุณ ยังไงก็ต้องเอาข้อมูลมากรอง DNA สิ่งแวดล้อมอยู่ดี”

ทีมงานหวังว่าหุ่นยนต์ของพวกเขาจะช่วยให้นักชีววิทยาทางทะเลศึกษาสุขภาพและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศแนวปะการังต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงมากเกินไป มลพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

view original *