At UN, Nations Cooperate Toward Safe, Trustworthy AI Systems

สหประชาชาติ – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองมติที่เป็นเอกฉันท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ในการจัดการกับศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเร่งความก้าวหน้าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นของระบบ AI ที่ปลอดภัย มั่นคง และเชื่อถือได้

UNITED NATIONS — The U.N. General Assembly adopted by consensus Thursday a first-of-its-kind resolution addressing the potential of artificial intelligence to accelerate progress toward sustainable development, while emphasizing the need for safe, secure and trustworthy AI systems.

ที่ UN ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบ AI ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้

สหประชาชาติ – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองมติที่เป็นเอกฉันท์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ในการจัดการกับศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเร่งความก้าวหน้าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นของระบบ AI ที่ปลอดภัย มั่นคง และเชื่อถือได้

สหรัฐอเมริกา ริเริ่มความคิดนี้ โดยผลักดันพยายามที่จะจัดการความเสี่ยงของ AI ในขณะที่แสวงหาการใช้ประโยชน์จากมัน

“วันนี้เมื่อ U.N. และ AI มาบรรจบกันในที่สุด เรามีโอกาสและความรับผิดชอบในการเลือกประชาคมระดับโลกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อควบคุมเทคโนโลยีนี้ แทนที่จะปล่อยให้มันควบคุมเรา” ลินดา โธมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าว “ขอให้เรายืนยันอีกครั้งว่า AI จะถูกสร้างและใช้งานผ่านมุมมองของมนุษยชาติและศักดิ์ศรี ความปลอดภัยและความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน”

ฝ่ายบริหารของ Biden กล่าวว่าต้องใช้เวลามากกว่าสามเดือนในการเจรจา เพื่อร่าง baseline set of principles ชุดหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับ AI โดยมีส่วนร่วมกับ 120 ประเทศ และรวบรวมข้อเสนอแนะจากหลายประเทศ รวมถึงจีน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 123 ผู้สนับสนุนร่วมของร่างหลักการ

แม้ว่ามติของสมัชชาใหญ่ จะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็สะท้อนถึงฉันทามติทางการเมืองของประชาคมระหว่างประเทศ

มติดังกล่าวตระหนักถึงความแตกต่างในการพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงประโยชน์ของ AI ได้อย่างเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ยังสรุปมาตรการสำหรับการกำกับดูแล AI ที่มีความรับผิดชอบ รวมถึงการพัฒนากรอบการกำกับดูแล โครงการริเริ่มการสร้างขีดความสามารถ และการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม มติดังกล่าวสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายและโอกาสที่เทคโนโลยี AI สร้างขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การก้าวไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยินดีต่อมติดังกล่าว โดยกล่าวว่าทุกประเทศจะต้องได้รับคำแนะนำจากชุดความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ระบบ AI

“บ่อยครั้งในการปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ผ่านมา ผลประโยชน์ไม่ได้รับการแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกัน และมีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกถึงผลเสีย” เธอกล่าวในแถลงการณ์ “มตินี้กำหนดเส้นทางข้างหน้าของ AI ซึ่งทุกประเทศสามารถยึดร่างหลักการดังกล่าว และจัดการความเสี่ยงของ AI ได้”

ในการประชุม World Economic Forum ในเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนมกราคม อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของผลที่ตามมาโดยไม่ตั้งใจจาก “การสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ของ  Generative AI” เขากล่าวว่ามี “ศักยภาพมหาศาล” สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ยังมีโอกาสที่จะทำให้ความไม่เท่าเทียมกันแย่ลงอีกด้วย

“และบริษัทเทคโนโลยีที่ทรงพลังบางแห่งกำลังแสวงหาผลกำไรโดยไม่สนใจสิทธิมนุษยชน ความเป็นส่วนตัว และผลกระทบทางสังคมอย่างชัดเจน” เขากล่าวในขณะนั้น

The U.N. chief ได้ก่อตั้งหน่วยงานที่ปรึกษาด้าน AI เมื่อปีที่แล้ว และจะเผยแพร่รายงานขั้นสุดท้ายก่อนการประชุมสุดยอดแห่งอนาคตของสหประชาชาติในเดือนกันยายน

view original *