พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์
UNESCO องค์กรชั้นนำด้านการศึกษา มองบวกกับ ChatGPT เพียงแค่ใช้ให้เป็น รู้ว่ามันทำงานอย่างไร อะไรคือข้อจำกัด อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้
UNESCO ถึงกับทำคู่มือเล็กๆแบบ Quick Start Guide ออกมา และหน้าปกหนังสือก็ทำด้วย AI (DALL-E 2) อีกด้วย เนื้อหาในหนังสือเล่มบางๆมีแค่สิบกว่าหน้า ซึ่งอาจจะไม่ได้ลงลงเทคนิคสักเท่าไหร่ แต่เขาก็พยายามสรุปประเด็นที่น่าสนใจ ข้อกังวลและศักยภาพเอาไว้ โดยเฉพาะการเอาไปใช้ในการศึกษา และมีการแบ่งหัวข้อได้น่าสนใจ ดังที่ภาพที่โพสต์ไว้ด้านล่าง หัวข้อนึงที่ใส่ไว้ ที่ผมชอบเป็นพิเศษ
Socratic opponent คือการให้ ChatGPT มีการตั้งคำถามแบบวิธีโสคราติส ในการค้นหาอะไรที่เป็นเนื้อแท้ ความลึกของประเด็นและเนื้อหา ซึ่งจริงแล้วทำได้ทั้งสองด้าน เราตะลุยถาม ChatGPT แบบโสคราติส หรือให้ถามกลับก็ได้เช่นเดียว วิธีการนี้จะช่วยให้การเรียนรู้เนื้อหาได้เร็วและมีความลึกซึ้ง ซึ่งในบรรยากาศปกติ จะหาคนมานั่งถกประเด็นลึกๆได้ยากนัก ยิ่งไม่ให้มี Hard Feeling ในการไล่ประเด็นด้วย ยิ่งยากเข้าไปใหญ่
ดังนั้นผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไม บิลเกตส์และยูเนสโกถึงออกมาสนับสนุน ChatGPT โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา แล้วคุณล่ะมองเรื่องนี้อย่างไร ลองมาแชร์กันดูนะครับ