การ์ตูนเก่าระดับตำนานเขียนด้วย ChatGPT เจนภาพด้วย SD เกิดขึ้นแล้ว

การ์ตูนเก่าระดับตำนานเขียนด้วย ChatGPT เจนภาพด้วย SD เกิดขึ้นแล้ว นักเขียนระดับตำนานหลายคน มีผลงานที่จินตนาการไปข้างหน้า ในยุคนั้นคงคิดว่าล้ำและออกไปทางแฟนตาซีมากกว่าจะเห็นเป็นเรื่องจริง ไม่ว่าจะเป็นโลกข้างหน้าของ Foundation, กฏหุ่นยนต์สามข้อ ของ Isaac Asimov จนมาเป็นหนังเรื่อง iRobot หรืออย่างที่ผมประทับใจในวัยเด็กอย่างการ์ตูนคอบบร้า เห่าไฟสายฟ้า ที่มีปืนยิงด้วยพลังจิตและเลี้ยวโค้งได้ และมีตอนขโมยปืน โดยส่งสายลับมาถ่ายภาพปืนแบบเอ็กซเรย์ ถึงแม้จับเลยแต่ก็ไม่ทัน เพราะข้อมูลภาพถ่ายได้ส่งทางสัญญาณวิทยุไปแล้ว นั่นคือต้นแบบของกล้องดิจิตอลที่ส่งผ่านข้อมูลผ่านไวไฟเลยนะเนี่ย อีกหนึ่งเรื่อง “โดเรมอน” มีอยู่หนึ่งตอนที่โนบิตะอยากอ่านหนังสือตอนต่อไปเร็วๆ โดเรมอนก็ควักของวิเศษที่ให้โนบิตะเอาหนังสือการ์ตูนเรื่องโปรดมาให้เครื่อง “แกะลายเส้น” แล้วให้โนบิตะบอกว่าอยากได้เรื่องแบบไหน จากนั้นก็ให้เครื่องวิเศษนั้นคิด พอได้สองอย่างครบ เครื่องก็พิมพ์หนังสือเล่มนั้นออกมาทันที ฟังแล้วเป็นเรื่องเหลือเชื่อ โดยเฉพาะสี่สิบปีที่แล้ว แต่ที่เหลือเชื่อนั้นกลายเป็นจริงแล้วในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “AI” ตอนนี้มีโปรเจกต์ที่ญี่ปุ่นของทีมๆหนึ่ง ประกาศว่าจะสร้างผลงานการ์ตูนคลาสสิคเรื่อง “Black Jack” ของอจ Osamu Tezuka ทีมนี้เอาหนังสือการ์ตูน 242 ตอน ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1973 มาเทรนลายเส้นด้วยเอไอ แล้วเจนภาพออกมาด้วย Stable Diffusion โปรแกรมยอดฮิตสำหรับ […]

Sam Altman and Ex Machina

ผมเคยแนะนำหนัง Ex Machina ให้กับเพื่อนหลายคน โดยออกตัวก่อนเลยว่าเป็นหนังที่ดูไม่ง่ายนะ ทั้งเรื่องแสดงกันสามสี่คน ในห้องไม่กี่ห้อง ส่วนใหญ่จะเป็นบทสนทนา ถ้าไม่ชอบแนวนี้ให้ผ่านเลย ปรากฏว่าเพื่อนอยากลองก็เป็นดั่งว่า “ไม่สนุก” เพื่อนอีกคนทำงานด้าน AI ด้วย ชงให้ดู ปรากฏว่า “ชอบแฮะ” แต่บอกว่ามีความไม่สมจริงอยู่หลายส่วน ซึ่งผมเห็นด้วย และก็ไม่แปลก เพราะมันเป็นหนัง ไม่ใช่สารคดี และวันนี้แซมเจ้าของ ChatGPT ก็มีโอกาสดูจนได้ เขาก็บอกว่าหนังมันดีนะ แต่ไม่เข้าใจทำไมคนถึงต้องคะยั้นคะยอให้เขาดูด้วย ทวีตนี้ก็มีคนเขามาเมนท์เพียบอีกเช่นเคย และหนึ่งในคอมเมนท์ก็คือ หนังมันช่วยให้ตั้งคำถามเรื่องความเป็นมนุษย์ AI และจริยธรรม ในเมนท์มีแซวเรื่องท่าเต้นในหนังด้วย อ้อ หุ่นเคียวโกะ ถ้าใครคุ้นหน้าก็ไม่แปลกเพราะเธอแสดงอยู่ใน House of Dragon ด้วยแสดงเป็น Mysaria Ex Machina มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง ผมจะดึงมาบอกสักเล็กน้อยนะครับ o ความรู้สึกและจิตสำนึก: ในหนังนางเป็นหุ่นแบบ AGI เลย และมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ณ ปัจจุบัน AI […]

AI in Education

ด้วยความเป็นซุปเปอร์อินฟูเอ็นเซอร์ระดับตำนานของบิลเกตส์ ไม่ว่าจะช่วงเวลาไหนก็ตาม ก็จะมีนักข่าว นักจัดรายการเข้าไปสัมภาษณ์ตลอด และแกก็จะให้ความคิดเห็นรัวๆเช่นเดียวกัน อย่างช่วงนี้แกจะพูดถึง AI ทุกเม็ดและที่ขาดไม่ได้ก็คือ “การพูดถึงสภาพการหลอมรวมระหว่าง AI กับ Education” ในเรื่องนี้มันมีดราม่าแยกออกมาเป็นกลุ่มใหญ่ดังนี้ คือหนึ่ง..โรงเรียนมหาวิทยาลัยสถานศึกษากังวลว่าเอไอจะทำให้นักเรียนมักง่ายไม่คิดไม่ทำความเข้าใจเนื้อหา และพยายามจบงานด้วเอไอทั้งหมด อีกทั้งครูมีความไม่พร้อมตามหลังเรื่องเทค ตามนักเรียนไม่ทัน สอง..รัฐหรือองค์กรต่างๆมีความกังวลเรื่องไบแอสของข้อมูล หรือข้อมูลเท็จในสายตารัฐ จะทำให้เด็กมีชุดความคิดความเชื่ออีกแบบ นอกเหนือจากทิศทางของรัฐที่อยากให้เป็น สาม..เอไอเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ในรอบพันปี ที่ช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทั่วโลก และเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่รอคอยมาแสนนาน สำหรับบิลเกตส์แล้ว เขาอยู่ในกลุ่มสาม และพยายามชี้ให้เห็นว่าถึงที่สุดแล้ว มันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “AI Personal Agent” ที่จะมาช่วยคนทุกคนทำงานร้อยแปดโดยเฉพาะงานรูทีนต่างๆ บิลเกตส์บอกว่าปัญหาเรื่องการศึกษาโดยส่วนใหญ่แล้ว มันคือเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้เด็กรักเรื่องนั้นๆ เพราะถ้ามีทุกอย่างมันจะง่าย แต่ระบบการศึกษาปัจจุบันมันไม่ตอบโจทย์ ซ้ำร้ายอาจจะทำให้เด็กเกลียดวิชานั้นไปเลย ยกตัวอย่างเช่นวิชาคณิตศาสตร์ เราฝันถึง Personalized Learning มานาน เราพูดถึงระบบแบบ one on one tutoring แต่มันยังเกิดในระดับแมสไม่ได้ เพราะต้นทุนมันแพง คนทำแบบนี้ได้มีแค่หยิบมือ แต่ตอนนี้สิ่งนั้นมันเริ่มชัดขึ้น เอไอจะเข้าไปช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไป ทุกคนจะมี AI ส่วนตัว […]

ยุคตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment)

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ยุคตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment) ผมบังเอิญไปคอมเมนท์เพื่อนในประเด็นการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย เพื่อนบอกว่าให้เข้าสู่เรเนซองส์ เราบอกให้ต่อไปอีกนิดเข้าสู่ยุคตื่นรู้ทางปัญญาไปเลย เพื่อนรุ่นพี่อีกคนรบเร้าให้ช่วยเล่าเรื่องยุคนี้ให้ละเอียดหน่อย ไหนๆจะเมนท์เล่าแล้ว ผมเลยคิดว่าเอามาเขียนเป็นบทความสั้นๆน่าจะดีกว่า เผื่อคนอื่นอยากจะอ่านด้วย พูดถึงยุคสมัยในประวัตศาสตร์แล้ว หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า คนในยุคนั้นๆพวกเขาไม่รู้หรอกว่าเรียกว่ายุคอะไร เพราะไม่มีใครเรียกกัน การเรียกขานนั้นเกิดจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังตั้งชื่อขึ้นมากันเอง เพื่อสื่อถึงช่วงเวลา แทนที่จะมานั่งจำตัวเลขปีเพียงอย่างเดียว โดยเลือกลักษณะที่เด่นที่สุดของช่วงเวลานั้นๆ อย่างเช่น “ยุคมืด” ของยุโรป ที่กินเวลานับพันปี ที่เรียกกันเช่นนั้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนในสังคมไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาใหม่เลย ด้วยเหตุผลที่สังคมโดนครอบงำด้วย “อำนาจใหม่” ที่เรียกว่า “ศาสนจักร” ที่จับมือกับอำนาจเก่าที่ชื่อว่า “รัฐ” ใครที่สงสัย ตั้งคำถาม หรือคิดต่างจากสองอำนาจที่กล่าวมา จะสุ่มเสี่ยงต่อการยัดข้อหาทั้งเป็นคนนอกรีต แม่มด ไม่โดนจับไปขัง ก็เอาไปเผา ต่อให้ข้อสงสัยคำอธิบายนั้นจะหมดจดแจ่มแจ้ง ประจักษ์ต่อลูกตาแค่ไหน พวกนั้นก็ไม่ฟัง ตัวอย่างที่เราได้ยินมามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของกาลิเลโอที่บอกว่าโลกกลม พูดปุ๊ปความซวยก็เดินทางมาถึงทันที พูดความจริงก็ติดคุกได้ เพราะสังคมยุคนั้น “คลั่งความลวง” “คลั่งอำนาจ” การสิ้นสุดของยุคมืด นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะนับช่วงเวลาที่กรุงสแตนติโนเปิลโดนตีแตก พ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิออตโตมาน ที่เมเหมดที่สองนำทัพไปเอง (ใครสนใจช่วงเวลานี้แนะนำให้ไปดูซีรีย์ Ottoman […]

The Future of Jobs

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ วันนี้มีโอกาสไปนั่งฟังบรรยายของคุณนิรันดร์ Ava พูดถึง Generative AI เกี่ยวกับการลงทุน และมีโอกาสได้พูดคุยหน่อยนึง เนื่องจากคุณนิรันดร์มีพื้นฐานมาจากเป็นคนสายเศรษฐศาสตร์ ก็เลยอดไม่ได้ที่จะเล่าภาพกว้างในมุมแมคโครให้ฟัง โดยเริ่มจากคำว่า “The future of Jobs” คุณนิรันดร์ได้เล่า การเข้ามาของ AI ที่จะมาทดแทนแรงงานทั้งในปัจจุบันและทวีจำนวนตัวเลขในอนาคตโดยหยิบยกงานวิจัยของ World Economics Forum ซึ่งว่าไปแล้ว ไม่ว่าสำนักไหน ก็จะมองแนวโน้มในทำนองนี้ทั้งนั้น เสียงก็เลยเป็นเอกฉันท์ อาชีพที่น่าเป็นห่วงมากคือ อาชีพที่เป็น “รูทีน” ทั้งหลาย ว่าไปแล้วอย่าว่าแต่ AI เลย คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสารพัดมันก็เข้ามาเบียดบังงานประเภทนี้อยู่แล้วนานหลายสิบปี เพียงแต่ต่อจากนี้มันจะ “ชัด” ขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่คุณนิรันดร์ ยกมาตัวหนึ่งน่าสนใจคือ เราจะคิดว่า AI มันจะมาแทนงานของกลุ่ม Blue Collar ซึ่งถ้าเป็นภาพประกอบคลาสสิค แรงงานกลุ่มนี้ก็จะอยู่ฐานล่างสุด แต่ในความจริงการแทนมันอาจจะไม่ใช่อย่างนั้น แกก็ยกตัวอย่างของโรงงานเทสล่าที่อีลอนมัสก์คลั่งไคล้การทำ automation คือ การเอาหุ่นยนต์มาใช้ให้ได้มากที่สุด เอาคนออกไปให้มากที่สุด แต่ผลไม่ได้เป็นอย่างนั้นปรากฏว่า Yield […]

AI Art

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ศิลปะเป็นส่วนสำคัญของการดำรงอยู่ของมนุษย์มาเป็นเวลาหลายพันปี โดยทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของวัฒนธรรม ความเชื่อ และแรงบันดาลใจของเรา ตลอดประวัติศาสตร์ ศิลปะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่และการเปลี่ยนผ่านทางสังคมเสมอ เมื่อมองเส้นเวลาให้กระชับที่สุด ถ้าเราเริ่มต้นที่ภาพวาดในผนังถ้ำ ตัดฉับมาที่งานสร้างสรรค์ดิจิตอล พร้อมกับเครื่องมือวาดสุดพิสดารอย่าง iPad และเริ่มต้นเดินทางไปอีกก้าวกับงานสร้างสรรค์ด้วย AI เห็นได้ว่าศิลปะไม่ได้หยุดนิ่ง ทั้งวิธีคิด งานสร้างสรรค์ ผู้คน และเครื่องมือ ศักยภาพของ AI Art ณ เวลานี้ มันช่วยให้คนทำงานสามารถสร้างสรรค์งานได้รวดเร็ว สวยงาม รวมถึงงานสร้างสรรค์ที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้เส้นแบ่งระหว่างมืออาชีพเดิมกับมือสมัครเล่นค่อยๆจางลง มองในแง่ลบอาจจะเป็นภัยคุกคามสำหรับศิลปินเดิม มองในแง่บวกทำให้ศิลปินต้องอัปเกรดตัวเองไปอีกขั้น รวมถึงใช้ AI Art เป็นเครื่องมือช่วยลดเวลาการทำงานของตัวเองให้เบาขึ้น ในขณะที่งานยังเนี้ยบอยู่ รับงานได้มากขึ้น สุขภาพดีขึ้น ผมเข้าใจว่าตอนนี้ยังมีประเด็นถกเถียงกันอีกเยอะระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ ทำให้อดคิดไม่ได้ที่จะนึกถึง งานวาดภาพบุคคลในยุคโบราณ ที่ชาวบ้านแทบจะไม่มีโอกาสจะได้บันทึกหน้าค่าตาของคนในครอบครัวเลย ภาพบุคคลจะมีได้ก็เพียงคนส่วนน้อยที่มีเงินหรืออำนาจ แต่วันที่กล้องถ่ายภาพถูกประดิษฐ์ขึ้นมา โลกก็เปลี่ยนไปตลอดกาล มันรับใช้คนส่วนใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ กล้องมีราคาถูกลง ชาวบ้านสามารถมีภาพถ่ายของคนในครอบครัวได้โดยไม่ยากเย็นนัก แน่นอนที่สุดการเกิดของเทคโนโลยีของการถ่ายภาพ ย่อมเป็นภัยคุกคามต่อการวาดภาพบุคคล แต่มันห้ามการมาของเทคโนโลยีไม่ได้ แต่จะมาถกเถียงกันนั้น ย่อมได้อยู่แล้ว แต่ท้ายสุด “เวลาก็จะเป็นผู้เฉลย”ทุกวันนี้ทุกคนทราบดีว่า […]

AI จะสร้างผู้แพ้จำนวนมาก

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ทุกครั้งที่ได้อ่านข่าวบทความจากกูรู AI ทั้งหลาย ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึง แนวคิดพื้นฐานของ คาร์ลมาร์กซ ที่พูดถึง “ความสามารถในการผลิตที่ก้าวกระโดดจะทำให้สังคมเปลี่ยนไปรวมถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น” มาร์กซเกิดในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เขาได้เห็น เขาได้สัมผัสการเปลี่ยนผ่านของสังคม การเกิดชนชั้นใหม่ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นไปจนถึงความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ผมเชื่อว่ามาร์กซคงจะจินตนาการไม่ออกว่า จะมี AI ที่มีศักยภาพขนาดนี้เกิดขึ้นมา แล้วถึงที่สุด “สมการการผลิตจะเกิดจาก AI หรือหุ่นกระป๋องอะไรสักอย่าง จะซัด GDP เกินกว่าครึ่ง” สังคมตอนนั้นจะเป็นอย่างไร ผมเองก็นึกไม่ออก แต่ ณ เวลานี้ในปี 2023 เราก็เริ่มเห็นสัญญาณอะไรบางอย่างแล้ว ล่าสุดผู้ก่อตั้ง DeepMind ให้สัมภาษณ์ ถึงกลับเอ่ยปากแบบแรงๆว่า “AI จะสร้างผู้แพ้จำนวนมาก” และ “ไม่ต้องสงสัยเลยว่างานนั่งแอร์เย็นๆในออฟฟิสจะดูแตกต่างจากนี้อย่างมากในอีกห้าหรือสิบปีข้างหน้า” รวมถึงนายพิชัย หัวเรือใหญ่กูเกิลก็บอกว่าคนงานในระดับบ Knowledge Worker เองก็อาจจะไม่รอดเช่นเดียวกัน แล้วพวกเราล่ะ ตอนนี้คิดกันอย่างไรบ้าง?

ไฟและเมกกะเทรนด์

มนุษย์ยุคแรกที่ค้นพบไฟ สร้างมันขึ้นเองได้ ควบคุมมันได้ มันคือ First Megatrend ของมนุษยชาติ และมันได้เปลี่ยนโฉมหน้ามนุษย์ไปตลอดกาล การมาของเมกะเทรนด์แต่ละครั้ง มันห้ามไม่ได้ ทางเลือกมีอยู่แค่สองทาง คือ “หลบ” หรือ “รู้” the choice is yours

ChatGPT โสเครติส คาร์ลมาร์กซ และ Critical Thinking

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ หลายปีที่ผ่านมามีการพูดถึงทักษะที่จำเป็นต้องการทำงานของคนรุ่นใหม่และเผลอๆไล่ไปถึงยุคเก่าเลย นั่นก็คือเรื่อง Critical Thinking เพราะคนจำนวนมากมีทักษะนี้น้อย องค์กรอย่าง World Econonic Forum เองก็หยิบเรื่องนี้มาตีฆ้องร้องป่าวอยู่หลายครั้งจนกลายเป็นประเด็นที่คนในสังคมสนใจอยู่หลายปี ปัจจุบันมีทฤษฏีที่ว่าถึงเรื่อง Critical Thinking อยู่หลายสำนัก แต่ถ้ามองลึกๆไปจริงๆ ผมว่ารากฐานแนวคิดนั้นมาจากอดีต มาจากปราชญ์ระดับตำนาน เพียงแต่เขาไม่ได้ใช่ชื่อแบบนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคาร์ลมาร์กซ เจ้าของแนวคิด Dialectical Materialism ที่คนไทยเราเรียกว่า “ทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ” ซึ่งมาร์กซเองก็เอาแนวคิดนี้มาจากอาจารย์แกเองนามว่า “เฮเกล” เจ้าของทฤษฏี Hegelian Dialectic อันโด่งดัง แต่มาร์กซถอดไส้ในออกไปครึ่งหนึ่ง เพราะคิดว่าไม่เวิร์ก และถ้ามองเจาะลงไปที่ Dialectic ของเฮเกลที่ประกอบไปด้วย Thesis/Antithesis เพื่อให้ได้ Synthesis นั้น ดูเผินๆแล้ว ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน หรือพิสดารควรค่าแก่การเป็นทฤษฏีอะไรที่คนยกย่อง มันก็แค่การถกเถียงประเด็นต่างๆ มันเป็นสามัญสำนึกที่คนทั่วไปรับรู้และเข้าใจอยู่แล้ว แต่ถ้าใจนิ่งๆและพินิจพิเคราะห์ก็จะเห็นว่า ในยุคที่อำนาจรัฐเต็มมือ การที่มีประเด็นอะไรสักอย่าง แล้วส่งเสริมให้คนเอาประเด็นเหล่านั้นมาถกเถียงถามตอบ ตรวจสอบทุกแง่มุมเพื่อให้สิ่งที่ดีกว่านั้น เป็นเรื่องที่ล่อแหลมและท้าทายเป็นอย่างมาก ยิ่งหยิบเอามาเป็นแนวคิดทฤษฏีอะไรที่ส่งเสริมให้คนในสังคมเรียนรู้อีกด้วยนั่นไม่ต้องพูดถึง ผมเชื่อว่า Dialectic […]

UNESCO องค์กรชั้นนำด้านการศึกษา มองบวกกับ ChatGPT

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ UNESCO องค์กรชั้นนำด้านการศึกษา มองบวกกับ ChatGPT เพียงแค่ใช้ให้เป็น รู้ว่ามันทำงานอย่างไร อะไรคือข้อจำกัด อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ UNESCO ถึงกับทำคู่มือเล็กๆแบบ Quick Start Guide ออกมา และหน้าปกหนังสือก็ทำด้วย AI (DALL-E 2) อีกด้วย เนื้อหาในหนังสือเล่มบางๆมีแค่สิบกว่าหน้า ซึ่งอาจจะไม่ได้ลงลงเทคนิคสักเท่าไหร่ แต่เขาก็พยายามสรุปประเด็นที่น่าสนใจ ข้อกังวลและศักยภาพเอาไว้ โดยเฉพาะการเอาไปใช้ในการศึกษา และมีการแบ่งหัวข้อได้น่าสนใจ ดังที่ภาพที่โพสต์ไว้ด้านล่าง หัวข้อนึงที่ใส่ไว้ ที่ผมชอบเป็นพิเศษ Socratic opponent คือการให้ ChatGPT มีการตั้งคำถามแบบวิธีโสคราติส ในการค้นหาอะไรที่เป็นเนื้อแท้ ความลึกของประเด็นและเนื้อหา ซึ่งจริงแล้วทำได้ทั้งสองด้าน เราตะลุยถาม ChatGPT แบบโสคราติส หรือให้ถามกลับก็ได้เช่นเดียว วิธีการนี้จะช่วยให้การเรียนรู้เนื้อหาได้เร็วและมีความลึกซึ้ง ซึ่งในบรรยากาศปกติ จะหาคนมานั่งถกประเด็นลึกๆได้ยากนัก ยิ่งไม่ให้มี Hard Feeling ในการไล่ประเด็นด้วย ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ดังนั้นผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไม บิลเกตส์และยูเนสโกถึงออกมาสนับสนุน ChatGPT โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา […]

1 2 3