ยุคตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment)
พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ยุคตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment) ผมบังเอิญไปคอมเมนท์เพื่อนในประเด็นการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย เพื่อนบอกว่าให้เข้าสู่เรเนซองส์ เราบอกให้ต่อไปอีกนิดเข้าสู่ยุคตื่นรู้ทางปัญญาไปเลย เพื่อนรุ่นพี่อีกคนรบเร้าให้ช่วยเล่าเรื่องยุคนี้ให้ละเอียดหน่อย ไหนๆจะเมนท์เล่าแล้ว ผมเลยคิดว่าเอามาเขียนเป็นบทความสั้นๆน่าจะดีกว่า เผื่อคนอื่นอยากจะอ่านด้วย พูดถึงยุคสมัยในประวัตศาสตร์แล้ว หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า คนในยุคนั้นๆพวกเขาไม่รู้หรอกว่าเรียกว่ายุคอะไร เพราะไม่มีใครเรียกกัน การเรียกขานนั้นเกิดจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังตั้งชื่อขึ้นมากันเอง เพื่อสื่อถึงช่วงเวลา แทนที่จะมานั่งจำตัวเลขปีเพียงอย่างเดียว โดยเลือกลักษณะที่เด่นที่สุดของช่วงเวลานั้นๆ อย่างเช่น “ยุคมืด” ของยุโรป ที่กินเวลานับพันปี ที่เรียกกันเช่นนั้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนในสังคมไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาใหม่เลย ด้วยเหตุผลที่สังคมโดนครอบงำด้วย “อำนาจใหม่” ที่เรียกว่า “ศาสนจักร” ที่จับมือกับอำนาจเก่าที่ชื่อว่า “รัฐ” ใครที่สงสัย ตั้งคำถาม หรือคิดต่างจากสองอำนาจที่กล่าวมา จะสุ่มเสี่ยงต่อการยัดข้อหาทั้งเป็นคนนอกรีต แม่มด ไม่โดนจับไปขัง ก็เอาไปเผา ต่อให้ข้อสงสัยคำอธิบายนั้นจะหมดจดแจ่มแจ้ง ประจักษ์ต่อลูกตาแค่ไหน พวกนั้นก็ไม่ฟัง ตัวอย่างที่เราได้ยินมามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของกาลิเลโอที่บอกว่าโลกกลม พูดปุ๊ปความซวยก็เดินทางมาถึงทันที พูดความจริงก็ติดคุกได้ เพราะสังคมยุคนั้น “คลั่งความลวง” “คลั่งอำนาจ” การสิ้นสุดของยุคมืด นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะนับช่วงเวลาที่กรุงสแตนติโนเปิลโดนตีแตก พ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิออตโตมาน ที่เมเหมดที่สองนำทัพไปเอง (ใครสนใจช่วงเวลานี้แนะนำให้ไปดูซีรีย์ Ottoman […]