ยุคตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment)

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ยุคตื่นรู้ทางปัญญา (Age of Enlightenment) ผมบังเอิญไปคอมเมนท์เพื่อนในประเด็นการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย เพื่อนบอกว่าให้เข้าสู่เรเนซองส์ เราบอกให้ต่อไปอีกนิดเข้าสู่ยุคตื่นรู้ทางปัญญาไปเลย เพื่อนรุ่นพี่อีกคนรบเร้าให้ช่วยเล่าเรื่องยุคนี้ให้ละเอียดหน่อย ไหนๆจะเมนท์เล่าแล้ว ผมเลยคิดว่าเอามาเขียนเป็นบทความสั้นๆน่าจะดีกว่า เผื่อคนอื่นอยากจะอ่านด้วย พูดถึงยุคสมัยในประวัตศาสตร์แล้ว หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า คนในยุคนั้นๆพวกเขาไม่รู้หรอกว่าเรียกว่ายุคอะไร เพราะไม่มีใครเรียกกัน การเรียกขานนั้นเกิดจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังตั้งชื่อขึ้นมากันเอง เพื่อสื่อถึงช่วงเวลา แทนที่จะมานั่งจำตัวเลขปีเพียงอย่างเดียว โดยเลือกลักษณะที่เด่นที่สุดของช่วงเวลานั้นๆ อย่างเช่น “ยุคมืด” ของยุโรป ที่กินเวลานับพันปี ที่เรียกกันเช่นนั้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนในสังคมไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาใหม่เลย ด้วยเหตุผลที่สังคมโดนครอบงำด้วย “อำนาจใหม่” ที่เรียกว่า “ศาสนจักร” ที่จับมือกับอำนาจเก่าที่ชื่อว่า “รัฐ” ใครที่สงสัย ตั้งคำถาม หรือคิดต่างจากสองอำนาจที่กล่าวมา จะสุ่มเสี่ยงต่อการยัดข้อหาทั้งเป็นคนนอกรีต แม่มด ไม่โดนจับไปขัง ก็เอาไปเผา ต่อให้ข้อสงสัยคำอธิบายนั้นจะหมดจดแจ่มแจ้ง ประจักษ์ต่อลูกตาแค่ไหน พวกนั้นก็ไม่ฟัง ตัวอย่างที่เราได้ยินมามากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของกาลิเลโอที่บอกว่าโลกกลม พูดปุ๊ปความซวยก็เดินทางมาถึงทันที พูดความจริงก็ติดคุกได้ เพราะสังคมยุคนั้น “คลั่งความลวง” “คลั่งอำนาจ” การสิ้นสุดของยุคมืด นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะนับช่วงเวลาที่กรุงสแตนติโนเปิลโดนตีแตก พ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิออตโตมาน ที่เมเหมดที่สองนำทัพไปเอง (ใครสนใจช่วงเวลานี้แนะนำให้ไปดูซีรีย์ Ottoman […]

The Future of Jobs

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ วันนี้มีโอกาสไปนั่งฟังบรรยายของคุณนิรันดร์ Ava พูดถึง Generative AI เกี่ยวกับการลงทุน และมีโอกาสได้พูดคุยหน่อยนึง เนื่องจากคุณนิรันดร์มีพื้นฐานมาจากเป็นคนสายเศรษฐศาสตร์ ก็เลยอดไม่ได้ที่จะเล่าภาพกว้างในมุมแมคโครให้ฟัง โดยเริ่มจากคำว่า “The future of Jobs” คุณนิรันดร์ได้เล่า การเข้ามาของ AI ที่จะมาทดแทนแรงงานทั้งในปัจจุบันและทวีจำนวนตัวเลขในอนาคตโดยหยิบยกงานวิจัยของ World Economics Forum ซึ่งว่าไปแล้ว ไม่ว่าสำนักไหน ก็จะมองแนวโน้มในทำนองนี้ทั้งนั้น เสียงก็เลยเป็นเอกฉันท์ อาชีพที่น่าเป็นห่วงมากคือ อาชีพที่เป็น “รูทีน” ทั้งหลาย ว่าไปแล้วอย่าว่าแต่ AI เลย คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสารพัดมันก็เข้ามาเบียดบังงานประเภทนี้อยู่แล้วนานหลายสิบปี เพียงแต่ต่อจากนี้มันจะ “ชัด” ขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่คุณนิรันดร์ ยกมาตัวหนึ่งน่าสนใจคือ เราจะคิดว่า AI มันจะมาแทนงานของกลุ่ม Blue Collar ซึ่งถ้าเป็นภาพประกอบคลาสสิค แรงงานกลุ่มนี้ก็จะอยู่ฐานล่างสุด แต่ในความจริงการแทนมันอาจจะไม่ใช่อย่างนั้น แกก็ยกตัวอย่างของโรงงานเทสล่าที่อีลอนมัสก์คลั่งไคล้การทำ automation คือ การเอาหุ่นยนต์มาใช้ให้ได้มากที่สุด เอาคนออกไปให้มากที่สุด แต่ผลไม่ได้เป็นอย่างนั้นปรากฏว่า Yield […]

AI Art

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ศิลปะเป็นส่วนสำคัญของการดำรงอยู่ของมนุษย์มาเป็นเวลาหลายพันปี โดยทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของวัฒนธรรม ความเชื่อ และแรงบันดาลใจของเรา ตลอดประวัติศาสตร์ ศิลปะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่และการเปลี่ยนผ่านทางสังคมเสมอ เมื่อมองเส้นเวลาให้กระชับที่สุด ถ้าเราเริ่มต้นที่ภาพวาดในผนังถ้ำ ตัดฉับมาที่งานสร้างสรรค์ดิจิตอล พร้อมกับเครื่องมือวาดสุดพิสดารอย่าง iPad และเริ่มต้นเดินทางไปอีกก้าวกับงานสร้างสรรค์ด้วย AI เห็นได้ว่าศิลปะไม่ได้หยุดนิ่ง ทั้งวิธีคิด งานสร้างสรรค์ ผู้คน และเครื่องมือ ศักยภาพของ AI Art ณ เวลานี้ มันช่วยให้คนทำงานสามารถสร้างสรรค์งานได้รวดเร็ว สวยงาม รวมถึงงานสร้างสรรค์ที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้เส้นแบ่งระหว่างมืออาชีพเดิมกับมือสมัครเล่นค่อยๆจางลง มองในแง่ลบอาจจะเป็นภัยคุกคามสำหรับศิลปินเดิม มองในแง่บวกทำให้ศิลปินต้องอัปเกรดตัวเองไปอีกขั้น รวมถึงใช้ AI Art เป็นเครื่องมือช่วยลดเวลาการทำงานของตัวเองให้เบาขึ้น ในขณะที่งานยังเนี้ยบอยู่ รับงานได้มากขึ้น สุขภาพดีขึ้น ผมเข้าใจว่าตอนนี้ยังมีประเด็นถกเถียงกันอีกเยอะระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ ทำให้อดคิดไม่ได้ที่จะนึกถึง งานวาดภาพบุคคลในยุคโบราณ ที่ชาวบ้านแทบจะไม่มีโอกาสจะได้บันทึกหน้าค่าตาของคนในครอบครัวเลย ภาพบุคคลจะมีได้ก็เพียงคนส่วนน้อยที่มีเงินหรืออำนาจ แต่วันที่กล้องถ่ายภาพถูกประดิษฐ์ขึ้นมา โลกก็เปลี่ยนไปตลอดกาล มันรับใช้คนส่วนใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ กล้องมีราคาถูกลง ชาวบ้านสามารถมีภาพถ่ายของคนในครอบครัวได้โดยไม่ยากเย็นนัก แน่นอนที่สุดการเกิดของเทคโนโลยีของการถ่ายภาพ ย่อมเป็นภัยคุกคามต่อการวาดภาพบุคคล แต่มันห้ามการมาของเทคโนโลยีไม่ได้ แต่จะมาถกเถียงกันนั้น ย่อมได้อยู่แล้ว แต่ท้ายสุด “เวลาก็จะเป็นผู้เฉลย”ทุกวันนี้ทุกคนทราบดีว่า […]

บรรยาย ChatGPT & AI ให้ผู้บริหาร ThaiPBS

ThaiPBS มีความสนใจเรื่อง AI วันนี้มีโอกาสได้เข้าไปเล่าประสบการณ์ปันความรู้เกี่ยวกับ AI & ChatGPT ให้กับกลุ่มผู้บริหารในแผนกต่างๆได้เห็นภาพ โดยใช้ห้องประชุมกระทัดรัดในการจัด คล้ายกับมาการประชุมเรื่องอะไรสักเรื่อง เนื้อหาที่บรรยายผมพยายามจะฉายภาพให้กว้างเป็นกรอบ และแตะความลึกด้านเทคนิคสักหน่อย ไม่ต้องเยอะ แต่เพียงพอให้เข้าใจศักยภาพและข้อจำกัดของ AI รวมถึงการเข้ามาดิสรัปในอาชีพการงานว่า หน้าตามันจะมีอะไรบ้าง ท้ายสุดได้ไปรำลึกจิบกาแฟ ทานอาหารกับเพื่อนๆที่เคยมาออกรายการเมื่อสิบกว่าปีก่อนนิดนึง https://www.facebook.com/bigbadwolfkrub/posts/pfbid0nQyN7jtvkGjJKUNqYiM4uQcob8uJPr1SBszAsUb22wvAFohJjae9wzPzCWEGHVdgl ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://photos.app.goo.gl/DviDgrg35HCeay8w5

AI จะสร้างผู้แพ้จำนวนมาก

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ทุกครั้งที่ได้อ่านข่าวบทความจากกูรู AI ทั้งหลาย ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึง แนวคิดพื้นฐานของ คาร์ลมาร์กซ ที่พูดถึง “ความสามารถในการผลิตที่ก้าวกระโดดจะทำให้สังคมเปลี่ยนไปรวมถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น” มาร์กซเกิดในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เขาได้เห็น เขาได้สัมผัสการเปลี่ยนผ่านของสังคม การเกิดชนชั้นใหม่ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นไปจนถึงความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ผมเชื่อว่ามาร์กซคงจะจินตนาการไม่ออกว่า จะมี AI ที่มีศักยภาพขนาดนี้เกิดขึ้นมา แล้วถึงที่สุด “สมการการผลิตจะเกิดจาก AI หรือหุ่นกระป๋องอะไรสักอย่าง จะซัด GDP เกินกว่าครึ่ง” สังคมตอนนั้นจะเป็นอย่างไร ผมเองก็นึกไม่ออก แต่ ณ เวลานี้ในปี 2023 เราก็เริ่มเห็นสัญญาณอะไรบางอย่างแล้ว ล่าสุดผู้ก่อตั้ง DeepMind ให้สัมภาษณ์ ถึงกลับเอ่ยปากแบบแรงๆว่า “AI จะสร้างผู้แพ้จำนวนมาก” และ “ไม่ต้องสงสัยเลยว่างานนั่งแอร์เย็นๆในออฟฟิสจะดูแตกต่างจากนี้อย่างมากในอีกห้าหรือสิบปีข้างหน้า” รวมถึงนายพิชัย หัวเรือใหญ่กูเกิลก็บอกว่าคนงานในระดับบ Knowledge Worker เองก็อาจจะไม่รอดเช่นเดียวกัน แล้วพวกเราล่ะ ตอนนี้คิดกันอย่างไรบ้าง?

งานพูดคุยเก่าๆ

ในอดีตก่อน Social Media สื่อสิ่งพิมพ์รุ่งเรือง การดึงคนแต่ละภาคส่วนมาพูดคุยในธีม ก็เป็นหนึ่งในวิธีเอาเนื้อหาสาระมาเผยแพร่ได้หลากแง่มุม ผมเองก็ได้จัดงานลักษณะนี้ แบบเล็กๆ เชิญเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องและน่าจะมีของ มาคุยกัน เสียดายไม่ได้เสริฟกาแฟ งั้นจะเรียกงานจิบกาแฟ พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์

ไฟและเมกกะเทรนด์

มนุษย์ยุคแรกที่ค้นพบไฟ สร้างมันขึ้นเองได้ ควบคุมมันได้ มันคือ First Megatrend ของมนุษยชาติ และมันได้เปลี่ยนโฉมหน้ามนุษย์ไปตลอดกาล การมาของเมกะเทรนด์แต่ละครั้ง มันห้ามไม่ได้ ทางเลือกมีอยู่แค่สองทาง คือ “หลบ” หรือ “รู้” the choice is yours

AI Coffee Talk | Education

วันนี้ผมกับดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร จัดจิบกาแฟ AI Coffee Talk (Theme Education) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนมาร่วม Sip Learn Share Connect ด้วยกัน เพื่อพูดคุยถึงการมาของ ChatGPT ที่มีผลกระทบต่อแวดวงการศึกษาในระดับต่างๆ ซึ่งมีความคิดที่แตกต่างกันในรายละเอียด ทั้งสนับสนุนเต็มรูปแบบ เพราะห้ามไม่ได้ แต่มันเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ที่ช่วยในการเรียนรู้ที่ไม่เคยมีมาก่อน การทำ Personalized Learning ที่ดีและมีต้นทุนที่ต่ำ การเรียนการสอนที่ทำให้ระบบการสอนที่เคยมีมากลายเป็นของโบราณ แต่ฝั่งที่ไม่เห็นด้วย ก็ยังกังวลเรื่อง การตัดแปะข้อมูล การเอาเครื่องมาใช้คนไม่เข้าใจเนื้อหาที่แท้จริงของนักเรียน เนื้อหาที่แย่ที่ ChatGPT ผลิตออกมา ความพร้อมของครู ความสนใจของรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ และประเด็นอื่นอีกมาย ไปจนถึงคุยให้ตายก็ไม่มีทางได้เกิด อีกหนึ่งประเด็นที่หยิบยกมากล่าวถึงคือเรื่อง “ปฏิรูปการศึกษา” ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดมาตลอด พูดมาทุกรัฐบาล แต่ระบบก็ยังไปไม่ถึงไหน จัดอันดับทีไร ไทยก็ยังรั้งท้ายเหมือนเดิม ประเด็นที่หยิบยกเอามาคุยต่อคือ จริงๆแล้ว เราถูกบีบให้ปฏิรูปแบบยอมจำนน เพราะนักศึกษา สอนติดมหาลัยแล้วทิ้ง ทำให้สถาบันการศึกษา ขาดเม็ดเงินในชั้นปีสองปีสามปีสี่ ก็เลยเกิดระบบ TCAS เอาพอร์ทมาโชว์ เพื่อให้สถาบันการศึกษาสามารถคัดเลือกนักเรียนที่มีความตั้งใจเข้าไปเรียนจริงๆได้ […]

AI Coffee Talk | Generative Art

วันนี้ผมจัดงานจิบกาแฟเล็กๆในชื่อ AI Coffee Talk ในธีม Generative Art ขึ้นมา โดยเชิญตัวจิ๊ดในแวดวง Gen Art มานั่งเมาส์ นั่งคุย นั่งแชร์ กัน ตามคอนเซปต์ Sip Share Learn Connect และเชิญคนที่ไม่ได้คุ้นเอไอมานั่งฟังมุมมองอีกด้วยทั้งสายวาดและครีเอทีฟเอเจนซี ประเด็นคุยตั้งแต่ผลกระทบการมาของ AI ลิขสิทธิ์ มุมมองงาน มุมมองของลูกค้าที่ต้องการ สื่อ รวมถึงเทคนิคเครื่องมือในการเจนภาพในปัจจุบันว่ามันทำงานได้ถึงระดับไหน เอาไว้เดี๋ยวจะมาเล่าเรื่องนี้ในรายละเอียดกันอีกครั้งนะครับ คุยกันหลายชั่วโมงไม่ไล่ไม่เลิกเลย สนุกมากครับ ขอบคุณทุกคนที่มาจิบกาแฟกันนะ https://www.facebook.com/groups/5779011592182423/posts/6172521546164757/ ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://photos.app.goo.gl/rFBG8FcjYQMR6jBu6

ChatGPT โสเครติส คาร์ลมาร์กซ และ Critical Thinking

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ หลายปีที่ผ่านมามีการพูดถึงทักษะที่จำเป็นต้องการทำงานของคนรุ่นใหม่และเผลอๆไล่ไปถึงยุคเก่าเลย นั่นก็คือเรื่อง Critical Thinking เพราะคนจำนวนมากมีทักษะนี้น้อย องค์กรอย่าง World Econonic Forum เองก็หยิบเรื่องนี้มาตีฆ้องร้องป่าวอยู่หลายครั้งจนกลายเป็นประเด็นที่คนในสังคมสนใจอยู่หลายปี ปัจจุบันมีทฤษฏีที่ว่าถึงเรื่อง Critical Thinking อยู่หลายสำนัก แต่ถ้ามองลึกๆไปจริงๆ ผมว่ารากฐานแนวคิดนั้นมาจากอดีต มาจากปราชญ์ระดับตำนาน เพียงแต่เขาไม่ได้ใช่ชื่อแบบนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคาร์ลมาร์กซ เจ้าของแนวคิด Dialectical Materialism ที่คนไทยเราเรียกว่า “ทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ” ซึ่งมาร์กซเองก็เอาแนวคิดนี้มาจากอาจารย์แกเองนามว่า “เฮเกล” เจ้าของทฤษฏี Hegelian Dialectic อันโด่งดัง แต่มาร์กซถอดไส้ในออกไปครึ่งหนึ่ง เพราะคิดว่าไม่เวิร์ก และถ้ามองเจาะลงไปที่ Dialectic ของเฮเกลที่ประกอบไปด้วย Thesis/Antithesis เพื่อให้ได้ Synthesis นั้น ดูเผินๆแล้ว ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน หรือพิสดารควรค่าแก่การเป็นทฤษฏีอะไรที่คนยกย่อง มันก็แค่การถกเถียงประเด็นต่างๆ มันเป็นสามัญสำนึกที่คนทั่วไปรับรู้และเข้าใจอยู่แล้ว แต่ถ้าใจนิ่งๆและพินิจพิเคราะห์ก็จะเห็นว่า ในยุคที่อำนาจรัฐเต็มมือ การที่มีประเด็นอะไรสักอย่าง แล้วส่งเสริมให้คนเอาประเด็นเหล่านั้นมาถกเถียงถามตอบ ตรวจสอบทุกแง่มุมเพื่อให้สิ่งที่ดีกว่านั้น เป็นเรื่องที่ล่อแหลมและท้าทายเป็นอย่างมาก ยิ่งหยิบเอามาเป็นแนวคิดทฤษฏีอะไรที่ส่งเสริมให้คนในสังคมเรียนรู้อีกด้วยนั่นไม่ต้องพูดถึง ผมเชื่อว่า Dialectic […]

1 2 3 4 7