ครู – งานที่ปลอดภัยจาก AI

วิชาชีพครูถือว่าค่อนข้างปลอดภัยจากการคุกคามของ AI และระบบอัตโนมัติ แม้ว่า AI สามารถใช้เสริมงานของครูได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเห็นอกเห็นใจ และความฉลาดทางอารมณ์ที่จำเป็นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพทำให้ไม่น่าเป็นไปได้ที่ AI จะเข้ามาแทนที่ครูโดยสิ้นเชิง ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นสำหรับการสอนนักเรียนที่แตกต่างกันซึ่งมีความต้องการเฉพาะทำให้อาชีพนี้กลายเป็นอาชีพที่ท้าทายสำหรับ AI ในการทำงานแบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ The teaching profession is considered relatively safe from the threat of AI and automation. While AI can be used to supplement teachers’ work, the human connection, empathy, and emotional intelligence needed for effective teaching make it unlikely that AI will replace […]

UNESCO องค์กรชั้นนำด้านการศึกษา มองบวกกับ ChatGPT

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ UNESCO องค์กรชั้นนำด้านการศึกษา มองบวกกับ ChatGPT เพียงแค่ใช้ให้เป็น รู้ว่ามันทำงานอย่างไร อะไรคือข้อจำกัด อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ UNESCO ถึงกับทำคู่มือเล็กๆแบบ Quick Start Guide ออกมา และหน้าปกหนังสือก็ทำด้วย AI (DALL-E 2) อีกด้วย เนื้อหาในหนังสือเล่มบางๆมีแค่สิบกว่าหน้า ซึ่งอาจจะไม่ได้ลงลงเทคนิคสักเท่าไหร่ แต่เขาก็พยายามสรุปประเด็นที่น่าสนใจ ข้อกังวลและศักยภาพเอาไว้ โดยเฉพาะการเอาไปใช้ในการศึกษา และมีการแบ่งหัวข้อได้น่าสนใจ ดังที่ภาพที่โพสต์ไว้ด้านล่าง หัวข้อนึงที่ใส่ไว้ ที่ผมชอบเป็นพิเศษ Socratic opponent คือการให้ ChatGPT มีการตั้งคำถามแบบวิธีโสคราติส ในการค้นหาอะไรที่เป็นเนื้อแท้ ความลึกของประเด็นและเนื้อหา ซึ่งจริงแล้วทำได้ทั้งสองด้าน เราตะลุยถาม ChatGPT แบบโสคราติส หรือให้ถามกลับก็ได้เช่นเดียว วิธีการนี้จะช่วยให้การเรียนรู้เนื้อหาได้เร็วและมีความลึกซึ้ง ซึ่งในบรรยากาศปกติ จะหาคนมานั่งถกประเด็นลึกๆได้ยากนัก ยิ่งไม่ให้มี Hard Feeling ในการไล่ประเด็นด้วย ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ดังนั้นผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไม บิลเกตส์และยูเนสโกถึงออกมาสนับสนุน ChatGPT โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา […]

3 เหตุผลที่ AI วาดมือได้เน่ามาก

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ผลงานที่สร้างโดย Generative Art ไม่ว่าจะเป็น MidJourney, Dall-E หรือตัวอื่นๆ ได้สร้างความตกตะลึงในผลงาน จากแค่พิมพ์ข้อความเข้าไปไม่กี่คำที่เรียกว่า Prompt ทั้งแสงเงา สี แพทเทิร์น ฟอร์ม ลายเส้น รายละเอียดและอื่นๆก็โผล่ขึ้นมาในช่วงเวลาแค่อึดใจราวกับเสกเวทมนต์ แต่มีเพียงไม่กี่สิ่งเท่านั้น ที่ทำให้เราเบ้ปากกับผลงานที่ออกมา เรียกได้ว่าตรงกันข้ามสิ่งที่กล่าวออกมาเมื่อสักครู่นี้โดยเส้นเชิง สิ่งที่ว่านั้นก็คือ “มือ” ผู้ใช้อาร์ทสาย AI หลายคน บอกว่าวิธีดูภาพที่สร้างมาจาก คนวาด หรือ AI ทำ ดูง่ายๆ ให้ดูที่มือ เพราะมือที่สร้างจาก AI จำนวนไม่น้อยมันผิดปกติ มีหกนิ้วบ้าง โค้งงอผิดรูปบ้าง ไปจนถึงหลอมรวมสองมือเข้าด้วยกันบ้าง เหมือนกับคนในภาพเป็นคนพิการอย่างไงอย่างงั้น คำถามก็มีอยู่ว่า ทำไม AI ที่สร้างสรรค์ภาพดั่งเทพเสกเวทมนต์ ถึงทำมือได้เน่าขนาดนี้… คำตอบมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน 3.Low Margin for Errorไม่น่าเชื่อว่า ท่าทางของมือที่เพี้ยนไปเล็กน้อยนั้นจะสะดุดตาคนเป็นอย่างมาก เช่นนิ้วงอผิดฝั่ง การหยิบจับที่แปลกไปเล็กน้อย […]

เส้นทาง ChatGPT

ระบบการศึกษาตั้งแต่โบราณ ครูอาจารย์มักจะให้ความสำคัญกับที่ไปที่มา ประวัติศาสตร์และแรงบันดาลใจของคนคิดค่อนข้างน้อย ไปจนถึงตัดบทไม่กล่าวถึงเลย โดยเฉพาะเรื่องคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ยุคหลังๆมาฟังอจป๋องแป๋ง ที่นิยามตัวเองเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์และเล่าเรื่องราวของคนคิด ปัญหาที่เจอ การค้นพบ มันช่วยสร้างแรงบันดาลใจเป็นอย่างมาก และทำให้เราเข้าใจตัวหลักคิดทฤษฏี ทั้งที่ยังไม่แสดงสมการสักตัว ผมเองมองประวัติศาสตร์ไม่ต่างจากแคลคูลัส (เคยเขียนบทความเรื่องนี้ไปแล้ว) เพราะมันคือการเลือกจุดที่สนใจแล้วดูการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น พร้อมกับตีความบนเส้นเรื่อง เพื่อค่อยๆแกะความหมายระหว่างบรรทัดออกมา ผมค้นพบว่ามันทำให้จำได้นานโดยไม่ต้องท่อง เข้าใจได้ลึกโดยยังไม่ได้ไปดูสูตร ผมก็เลยอยากชักชวนทุกคนที่ศึกษาเรื่อง AI & Machine Learning ลองทำแบบนี้ดูบ้าง ถ้าคิดว่าแนวคิดแบบนี้พอใช้ได้ เส้นทางของพัฒนาการ AI นี่น่าทึ่ง ถ้าย้อนไปไกลๆจะนับได้ถึงปี 1600+ ยุคกูเต็นเบิร์กพอดี อัศจรรย์มาก และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง Alan Turing (นักถอดรหัสระดับตำนาน มีเป็นหนังด้วยนะชื่อ The Immitation แสดงโดยคนแสดงดอกเตอร์สเตรนจ์) ก็เคยพูดถึง Machine Intelligence ด้วย แต่ AI ที่คนทั่วโลกรู้จักกันมากๆก็คือ ปี 1997 ตอนที่เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM ที่ชื่อ DeepBlue สามารถชนะแชมป์โลกหมากรุกได้ […]

AI CommuNight

เมื่อคืนไปงาน AI Communight ของพี่แชมป์มา คุยกับน้องเพ็ญเรื่องขำๆของ AI & Crypto ที่เราเจอมา คือ พอเห็น Language Model ของ Standord ที่ชื่อ Alpaca ที่มาจาก LLama ของ Meta ทำให้อดคิดไม่ว่ามันเหมือนกับโปรเจกต์ดีไฟคริปโตเล๊ย….. ไม่คิดจะเอาชื่อสัตว์อื่นกันมั่งเหรอ พวกกระรอก ตะกวด มีเยอะแยะ

ทำไมกูเกิลถึงตามหลังเรื่อง AI?

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ทำไมกูเกิลถึงตามหลังเรื่อง AI? กูเกิลรวยล้นฟ้า มีทรัพยากรมากมาย เป็นเจ้าแห่งค้นและข้อมูล เปเปอร์สะเทือนโลกด้าน AI อย่างสถาปัตยกรรม Transformer ก็มาจากคนของกูเกิล แต่ทำไม ทำไม!… AI ถึงตามชาวบ้าน ออกก็ช้า งานก็แป๊ก สำหรับคนวงนอกอย่างผม ผมไม่เชื่อว่าระดับกูเกิลจะคิด และสร้างของดีออกมาไม่ได้ โดยเฉพาะต้องมานั่งตาม Startup No Name อย่าง OpenAI สิ่งเดียวที่คิดได้ และน่าจะเป็นสาเหตุหลักก็คือ Business Model ของกูเกิลมันขัดแย้งกับ ChatBot ถ้ามองให้รวบยอดและใช้คำพูดกระชับหน่อย ก็ต้องบอกว่า ธุรกิจของกูเกิลก็คือ “การขายคลิก” คนค้นเยอะ คลิกเยอะ เงินก็ไหลเข้ามาเยอะ และนี่คือกระแสเงินหลักของกูเกิลที่ได้มาตลอดหลายสิบปี ลองคิดดู ถ้าวันหนึ่งผู้ใช้จำนวนมาก มานั่งคิดว่า เวลาค้นอะไรแต่ละที ทำไมต้องไปคลิกด้วยวะ มันควรจะได้คำตอบเลยหรือเปล่า หรืออย่างน้อยก็ควรได้แนวทางคร่าวๆในหน้าแรกเลย ถ้าผู้ใช้ “ตื่นรู้” เรื่องนี้ แล้วเลิกสนใจ “วิธีการค้นแล้วคลิก” ความฉิบหายก็จะเดินทางมาเยือนหัวกระไดบ้านกูเกิลทันที ไอ้ครั้นจะมาเก็บค่าสมาชิกแบบ […]

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ออตโตมานล่มสลาย

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ อจ Yann LeCun จัดหนักทวีตอีกรอบเรื่องที่มีคนเรียกร้องให้หยุดพัฒนา AI 6 เดือน โดยครั้งนี้แกยกประวัติศาสตร์จักรวรรดิออตโตมาน ที่รุ่งเรืองสุดในช่วงปี 1400+ โดยเฉพาะเมเหมดที่สอง ที่ถล่มเมืองคอนสแตนติโนเบิลได้ และปิดฉากจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่นับพันปี (ใครสนใจไปดูซีรีย์ใน netflix นะ มีสองซีซันละ) แต่ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่กูเต็นเบิร์กคิดค้นแท่นพิมพ์ได้สำเร็จ ในเวลาไม่กี่สิบปีหลังจากนั้น ทำให้เกิดสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มากมาย หนังสืออกมาทะลัก ความรู้ต่างๆก็เริ่มเดินทางไปทั่วโลก แต่แปลกออตโตมานกลับกลัวหนังสือ กลัวชาวบ้านมีความรู้ กลัวเรื่องความเชื่อศาสนาจะสั่นครอน กลัวชาวบ้านฉลาดขึ้นกว่าคนส่วนน้อยในกำแพง ก็เลยออกกฏ จำกัดการครอบครองหนังสือ ทำให้หนังสือหายาก มีราคาแพง หวังให้ชาวบ้านโง่ดังเดิม แต่นั่นหารู้ไม่ว่าอีกฟากหนึ่งของยุโรปเขาไม่ได้คิดอย่างนั้น เขาเดินหน้าต่อ และท้ายสุดก็พายุโรปเข้าสู่ยุคตื่นรู้ทางปัญญา วิทยาศาสตร์เจริญ เทคโนโลยีใหม่เกิด ส่วนจักรวรรดิออตโตมานที่เคยยิ่งใหญ่ รุ่งเรือง ก็เริ่มถดถอยลงเรื่อยๆ และล่มสลายปิดจ๊อบเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อจ Yann ยกเรื่องนี้มาเปรียบเทียบได้เจ็บแสบ พอๆกับต้นทวิตที่พูดเรื่องการประท้วงเครื่องจักรทอผ้า เทคโนโลยีล้ำยุคที่จะมาแทนแรงงานคน กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม “Luddites” ผมว่าศึกษาเรื่อง AI ถ้าเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีแล้ว เรื่องที่ไปที่มา ประวัติศาสตร์ก็เป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง […]

AI Coffee Talk | ChatGPT

บิ๊ก พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ โดยส่วนตัวแล้ว ผมชื่นชอบบรรกาศจิบกาแฟ พูดคุยกันกับเพื่อนฝูงทั้งรู้จักสนิท หรือไม่รู้จักมากนัก แต่มีเรื่องราวความสนใจที่เชื่อมโยงกันได้ การเจอกันจริงๆสักครั้ง ผมว่าเป็นสิ่งสำคัญ มากกว่าการเจอกันออนไลน์เพียงอย่างเดียว ผมเลยลองจัดงานจิบกาแฟที่ชื่อว่า AI Coffee Talk โดยเรียนเชิญเพื่อนที่รู้จัก ทั้งที่เคยเจอกันรู้จักกันและไม่เคยเจอกันเลยแต่ดูแล้วมีของ มาพูดคุยสบายๆในเรื่อง AI วันนี้เป็นงานแรกของ AI Coffee Talk มากัน 11 คน พอดิบพอดีห้องที่ใช้พบปะ วันนี้มีดอกเตอร์สองคนตัวแทนคนภาคการศึกษา มีคนสายกราฟิก สายดาต้าเซ็นเตอร์หนักๆแบบธนาคาร สายเดฟ สายสื่อ สายพัฒนาองค์กร มาแจม ถึงแม้จะมาต่างสายงาน แต่ทุกคนเห็นความสำคัญของการมาของเอไอ มาแชร์มุมมอง ข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง คุยกันอย่างเมามันจนครบสองชั่วโมงกว่า ได้บรรยากาศSip Share Learn Connect ขอบคุณทุกท่านที่มาจอย มาแชร์มุมมองประสบการณ์กันนะครับ ผมหวังว่างานนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้คนในวงการมานั่งคุยกันแบบสบายๆ และอาจจะเป็นจุดเชื่อมต่อให้เกิดโปรเจกต์ใหม่ๆในอนาคตได้ ดูภาพได้เพิ่มที่นี่ https://photos.app.goo.gl/466nBAR6m2cN4svj9

Yann LeCun vs. Ilya Sutskever

พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ สองอินฟูเอนเซอร์ ที่ปะทะทางความคิดกันอยู่เสมอ และมักจะมองต่างกัน คนแรก Yann LeCun คนนี้พอจะบอกได้ว่าเป็นคนบุกเบิกเรื่อง Deep Learning คนแรกๆของวงการ แกมาจากสายวิจัยโดยตรง นับว่าเป็นรุ่นใหญ่ที่มีชื่อเสียง และตอนนี้มากินตำแหน่ง Chief AI Scientist ที่ Meta (Facebook) ส่วนอีกคน Ilya Sutskever มีตำแหน่งเดียวกัน แต่อยู่ที่ OpenAI เจ้าของ ChatGPT อันโด่งดัง Yann มักจะพูดออกสื่ออยู่เสมอว่า Language Model ที่เป็นอยู่นั้น มันไม่เข้าใจอะไรเลย มันแค่พ่นคำออกมาจากสูตรทางคณิตศาสตร์ จากแพทเทิร์นทางสถิติเท่านั้น ไม่มีคอมมอนเซนต์ ยังห่างไกลนักกับความเข้าใจอย่างที่มนุษย์เป็นนัก ถ้าจะมีอะไรที่สร้าง AI ให้ใกล้เคียงมนุษย์ มันคงไม่ใช่ LLM แต่ควรจะเป็นทฤษฏีใหม่อะไรสักอย่างไปเลย แกไม่พูดเรื่องนี้ลอยๆ เดินสายเลคเชอร์ตามยูต่างๆ พร้อมกับสไลด์อธิบายหลายสิบสไลด์ ส่วน Ilya นั้น ก็ให้ความเห็นที่น่าสนใจ แต่จะตอบแบบนุ่มนวลกว่า และไม่ได้ไปดีเบตชนตรงกับ […]

1 2 3 4 5 7